เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: การติดเชื้อวัณโรคของบุคคลากรโรงพยาบาลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
   หัวหน้าวิจัย
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   

วัณโรคถูกค้นพบเมื่อ 3000 ปี ก่อนคริสตกาลในประเทศอัฟริกา และพบในประเทศอิยิปต์และเปรู ประมาณ 160 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งในคริสต์ศักราช ซึ่งในคริสต์ศักราชที่ 700 พบแบคทีเรียทนกรดในปอดของมัมมี่ทางตอนใต้ของเปรู วัณโรคเป็นโรคติดต่อจาเชื้อmycobacterium Tuberculosis ซึ่งสามารถทำให้เกิดวัณโรคได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่เป็นปัญหามากที่สุดคือวัณโรคปอด ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อย เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเปแ็นสาเหตุของการเสียชีวิตมาช้านาน 1 ใน 3 ของประชากรเป็นผู้นำเชื้อโรค วัณโรคคร่าชีวิตมนุษย์โลกปีละไม่ต่ำกว่า 3 ล้านคน พบว่าผู้ป่วยวัณโรคอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาถึงร้อยละ 95 พบบ่อยทั้งในเมืองและชนบท่ โดยเฉพาะตามแหล่งสลัมที่ผู้คนอยู่อย่างแออัด และพบบ่อยในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

จากการศึกษา ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคและความชุกของการติดเชื้อวัณโรคโดยการทดสอบทูเบอร์คูลินทางผิวหนัง ในบุคลากรโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 911 คน การทดสอบครั้งแรกพบผลบวก 623 คน คิดเป็ฯร้อยละ 69 การทดสอบครั้งที่ 2 พบผลบวกรวมทั้งสิ้นร้อยละ 85 การสำรวจการติดเชื้อวัณโรคของบุคลากรในโรงพยาบาลนครพิงค์พบการติดเชื้อร้อยละ 68

ปัจจุบัน แม้ว่าจะมีกลวิธีและเครื่องมือในการควบคุมวัณโรคอยู่ก็ตาม แต่สถานการณ์ที่ไม่ค่อยดีอยู่แล้วกลับเลวร้ายยิ่งขึ้น เมื่อมีการระบาดของเชื้อ HIV เมื่อมีผู้ป่วยมากขึ้นโอกาสที่บุคลากรจะสัมผัสเชื้อก็มากขึ้นตามมา การติดเชื้อของบุคลากรในโรงพยาบาล จะทำให้เกิดผลกระทบหลายประการ ได้แก่ปัญหาสุขภาพของบุคลกรเอง โดยอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือพักฟื้นที่บ้านและต้องได้รับการรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อวัณโรคเป็นระยะเวลาถึง 6 เดือน ทำให้โรงพยาบาลขาดบุคลากรในการปฏิบัติงานหรือปฏิบัติงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และถ้าหากการติดเชื้อนั้นเป็นเชื้อที่ดื้อยา ก็จะทำให้รักษาลำบากมากขึ้น

โรงพยาบาลด่านช้างเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง มีบุคลากรทั้งหมด 157 คนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 มีบุคลากรป่วยเป็นวัณโรคปอด 1 คน ซึ่งเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด ซึ่งการสอบสวนไม่สามารถระบุได้ว่า บุคลากรติดเชื้อจากการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือติดเชื้อขณะศึกษาในวิทยาลัยพยาบาลเนื่องจากขณะเป็นนักศึกษาพยาบาลไม่เคยได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาการติดเชื้อวัณโรค ก่อนเข้าบรรจุเป็นบุคลากรในโรงพยาบาลด่านช้างก็ไม่มีการตรวจคัดกรองการติดเชื้อวัณโรค ซึ่งบุคลากรได้มาปฏิบัติงานในโรงพยาบาลด่านช้างเพียง 1 ปี 6 เดือนเท่านั้นและหน่วยงานที่ปฏิบัติงานเป็นห้องคอลด ซึ่งจะสัมผัสกับผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคน้อยกว่าบางหน่วยงาน

ดังนั้นการตรวจคัดกรองการติดเชื้อวัณโรค และการเฝ้าระวังการติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรของโรงพยาบาลด่านช้าง จึงเป็นการค้นหาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยวัณโรค เพื่อหาแนวทางในการวางแผนการป้องกันและควบคุมการติดเชื้่อและให้การรักษาก่อนที่จะเกิดอาการโรค ย่อมส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรเอง และยังเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อต่อไปยังผู้อื่นด้วย ซึ่งงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ได้ดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้ออยู่แล้ว แต่ยังไมีมีรูปแบบที่เป็ฯรูปธรรมชัดเจน ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึงสถานการณ์การติดเชื้อ และการป่วยเป็นวัณโรคของบุคลากรโรงพยาบาลด่านช้าง เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการเฝ้าระวัง การค้นหาผู้ป่วยและการสอบสวนหาสาเหตุของการติดเชื้อ เมื่อมีบุคลากรป่วยด้วยวัณโรค ซึ่งจะได้ดำเนินการรักษาก่อนที่จะเกิดการลุกลามของโรค และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนางานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลเพื่อให้เกิดคุณภาพตามมารตฐาน และนำไปสู่การรับรองโรงพยาบาลคุณภาพในอนาคต


     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
   

1. ศึกษาเปรียบเทียบอัตราชุกของการติดเชื้อวัณโรคในบุคลากรตามระยะเวลาการปฏิบัติงานตามกลุ่มอายุและตามลักษณะของการปฏิบัติงาน

    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    1. ประชากรที่ศึกษาเป็นบุคลากรของโรงพยาบาลด่านช้างซึ่งปฏิบัติงานระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 และสมัครใจเข้าร่วมโครงการ โดยไม่มีข้อจำกัดที่มีผลต่อการทดสอบปฏิกิริยาทูเบอร์คูลินทางผิวหนังและการเอกซเรย์ทรวงอก
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
   

1. ทราบอัตราชุกของการติดเชื้อในบุคลากรตามระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ตามกลุ่มอายุและลักษณะของการปฏิบัติงาน

2. นำผลการสำรวจเป็นพื้นฐานในการวางแผนการจัดระบบการเฝ้าระวังและการสอบสวนการติดเชื้อวัณโรคและการป่วยด้วยวัณโรคของบุคลากรโรงพยาบาลด่านช้าง

3. บุคลากรของโรงพยาบาลด่านช้างเกิดการตื่นตัวและตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรค จากการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข

4.เกิดการพัฒนามาตรฐานและระบบงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรงพยาบาลคุณภาพ อันจะก่อให้เกิดผลดีต่อบุคลกรและประชาชนที่มารับบริการที่โรงพยาบาลด่านช้าง

5. บุคลากรที่ติดเชื้อหรือป่วยด้วยวัณโรค ได้รับการรักษาในระยะแรก ซึ่งเป็นการลดผลแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น และเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น

    บทคัดย่อ
   

วัณโรคเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขมาช้านาน ปัจจุบันปัญหาของวัณโรคทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากปัญหาโรคเอดส์ที่แพร่ระบาด และการรักษายังพบว่ามีเชื้อดื้อยาต่อยา ทำให้การรักษาไม่ได้ผลดี ซึ่งส่งผลให้บุคลากรสัมผัสเชื้อวัณโรคมากขึ้น การศึกษาการติดเชื้อวัณโรค ของบุคลากรโรงพยาบาลด่านช้างนี้เป็นการศึกษาเชิงพพรรณาภาคตัดขวาง (Cross scctional descriptive study) เพื่อตรวจคัดกรองหาความชุกของการติดเชื้อ และการป่วยเป็นวัณโรค โดยการทดสอบปฏิกิริยาทูเบอร์คูลินทางผิวหนังร่วมกับการเอกซเรย์ทรวงอก ซึ่งประชากรที่ศึกษาสมัครใจและไม่มีข้อจำกัดในการทดสอบทูเบอร์คูลิน ทั้งหมด 151 คน คิดเป็นร้อยละ 96.18 ของบุคลากรทั้งหมด 157 คน

ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรของโรงพยาบาลด่านช้างติดเชื้อวัณโรคทั้งหมด 94 คน คิดเป็นร้อยละ 62.25 เพศชายติดเชื้อวัณโรคสูงกว่าเพศหญิง กลุ่มอายุที่มีการติดเชื้อมากที่สุดคือ กลุ่มอายุ 40-49 ปี มีอัตราการติดเชื้อถึงร้อยละ 78.79 บุคลากรที่ปฏิบัติงานมากกว่า 15-20 ปี มีอัตราชุกของการติดเชื้อสูงสุดคือ ร้อยละ 77.27 บุคลากรที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดผู้ป่วยมีอัตราชุกขอบงการติดเชื้อร้อยละ 63.63 ซึ่งการติดเชื้อวัณโรคนี้เป็นเพียงการลุกล้ำของเชื้อโรคเข้าสู่เนื้อเยื่อของร่างกายเท่านั้น ยังไม่ทำให้เกิดพยาธิสภาพของโรคและยังไม่ทำให้เชื้อแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ และได้ทำการเอกซเรย์ทรวงอกเพิ่มเพื่อค้นหาผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค พบมีผู้ที่มีผลเอกซเรย์ทรวงอกผิดปกติ 4 คน ซึ่งอายุรแพทย์ได้ให้ความเป็นว่าเป็นรอยโรคเก่าที่รักษาหายแล้ว

ซึ่งผลการศึกษานี้ควรใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลต่อไป

 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2549
ปีการศึกษา : 2548
ปีงบประมาณ : 2549
วันที่เริ่ม : 1 ก.ย. 2549    วันที่แล้วเสร็จ : 1 ม.ค. 2549
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 0.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 0.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6