เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: อุบัติการณ์การคลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาล กรณีศึกษาโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
   หัวหน้าวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : -
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   การอนามัยแม่และเด็กเป็นการดูแลสุขภาพที่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของครอบครัว โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพสตรีระหว่างตั้งครรภ์ ตั้งแต่ระยะตั้งครรภื ระยะคลอด และระยะหลังคลอด โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือความปลอดภัยทั้งลูก และแม่ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ตลอดจนงานอนามัยแม่และเด็กได้มีการพัฒนา มาตลอด แต่ก็ยังพบว่า อาจจะเกิด ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพแม่และเด็กขึ้นได้ทั้งที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงจากมารดาและทารกที่ทำให้เกิดปัญหาตั้งแต่การผากครรภ์ ภาวะโภชนาการของแม่ซึ่งมีผลต่อทารกภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด การปฏิบัติตัวของมารดา การได้รับการดูแลจากบุคคลากรด้านสุขภาพโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ขนาด 602 เตียง มีบริการเฉพาะทางหลายสาขา บริการเฉพาะทาง สูติ-นรีเวช กุมารเวชศาสตร์ ซึ่งมีผู้มารับบริการจำนวนมาก มีการรับส่งต่อผู้ป่วยจากพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วง 3 ปีย้อนหลังที่ผ่านมา มีจำนวนเด็กที่เกิดจากปัญหาการดูแลทางแม่และเด็ก ได้แก่ทารกที่คลอดก่อนมาถึงโรงพยาบาล จำนวน ถึง 43 รายซึ่งทารกที่คลอดก่อนมาถึงโรงพยาบาลนั้นจะเป็นกลุ่มที่มีปัญหาและผลกระทบต่อสุขภาพแม่และเด็กซึ่งต่อแม่ได้แก่การเพิ่มอุบัติการณ์ ในภาวะตกเลือด ภาวะติดเชื้อ การฉีกขาดของช่องคลอด ภาวะสุขภาพจิต สำหรับในทารกจะพบปัญหาที่สำคัญเช่น ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ภาวะบาดเจ็บจากการคลอด ภาวะเลือดออกในสมอง ภาวะเลือดข้น ภาวะติดเชื้อ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ ทั้งที่มีความเจริญก้าวหน้าในระบบบริการสุขภาพ ปัญหาเหล่านี้ควรจะหมดไปผู้วิจัยเป็นพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อาจารย์พยาบาลในวิชาการพยาบาลเด็ก ได้สอนภาคปฏิบัติวิชาการพยาบาลเด็ก อยู่ในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด สังเกต เห็นว่ามีจำนวนเด็กที่ Admit เพราะปัญหา BBA (Birth Eefore Admit) ค่อนข้างสุง จึงสนใจที่จะศึกษาอุบัติการคลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาล กรณีศึกษาโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษา มาเป็นประโยชน์ ต่อการเรียนการสอน และการให้บริการอนามัยแม่และเด็กเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนต่อไป
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของมารดาที่คลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาล2. เพื่อศึกษาปัจจับด้านการตั้งครรภ์และการคลอดของมารดาที่คลอดบุตรก่อนถึงโรงพยาบาล3. เพื่อศึกษาข้อมูลปัจจัยด้านทารกที่คลอดบุตรก่อนถึงโรงพยาบาล
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    -
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    การดูแลสุขภาพสตรีระหว่างตั้งครรภ์ ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด เพื่อความปลอดภัยมารดาและทารก แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการเจิญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีตลอดจนงานอนามัยแม่และเด็กได้มีการพัฒนามาตลอด แต่ยังพบว่า ปัญหาเกี่ยวกับการคลอดก่อนมาถึงดรงพยาบาลยังพบได้บ่อย การดูแลที่ดีตั้งแต่การฝากครรภ์ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด การปฏิบัติตัวของมารดา การได้รับการดูแลจากบุคคลากรด้านสุขภาพ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยจะใช้เป็นแนวทางในการลดปัญหาและภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกโดยการดูแลมารดาและทารกที่ก่อให้เกิดปัญหาที่ป้องกันได้
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : -
    บทคัดย่อ
   

เรื่อง อุบัติการณ์การคลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาล (Birth Before Admit : BBA) กรณีศึกษาโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

ชื่อ ผู้วิจัย น.ส. วิลาวัณย์ ธนวรรณ

บทคัดย่อ

การศึกษาย้อนหลัง เรื่อง อุบัติการณ์การคลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาล (Birth Before Admit : BBA) กรณีศึกษาโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของมารดาที่คลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาล ปัจจัยด้านการตั้งครรภ์และการคลอดของมารดาที่คลอดบุตรก่อนถึงโรงพยาบาล และข้อมูลปัจจัยด้านทารกที่คลอดบุตรก่อนถึงโรงพยาบาล ประชาการกลุ่มตัวอย่าง มารดาและทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนถึงโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาFรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรีที่คลอดก่อนมาถึงโรงพยาบาลและมีการ Admit ที่แผนกุมารเวชกรรมและสูติกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546-30 กันยายน 2548 เครื่องมือและการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบบันทึกข้อมูลรายละเอียด ที่ผู้วิจัยรวบรวม ข้อมูลจากทะเบียนประวัติบันทึกหลักฐานต่าง ๆ และข้อมูลเพิ่มเติมถ้าจำเป็นจากกลุ่มตัวอย่าง

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของมารดาที่คลอดบุตรก่อนมาถึงโรงพยาบาล อายุสูงสุด 42ปี ต่ำสุด 14 ปี เฉลี่ย 28.5 ปี อยู่ในเขตอำเภอเมือง ร้อยละ 60.5 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 63.3 จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 42.1 สถานภาพการสมรส สมรสแล้ว ร้อยละ 73.7 ด้านประวัติการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เป็น การตั้งครรภ์และการคลอดครั้งที่ 2 มีการฝากครรภ์ร้อยละ 65.8 อายุครรภ์ที่คลอดสูงสุด 42 สัปดาห์ ต่ำสุด 24 สัปดาห์ เฉลี่ย 35.6 สัปดาห์ และเป็นการคลอดนอกเวลาราชการร้อยละ 65.8 สำหรับปัจจัยด้านทารกเป็นเพศหญิงร้อยละ 65.8 น้ำหนักตัวทารกสุงสุด 4030 กรัม ต่ำสุด 524 กรัม เฉลี่ย 2405.2 กรัม มีภาวะแทรกซ้อนระดับปานกลาง ร้อยละ 44.87 มีภาวะ Polycythemia ร้อยละ 28.9 และ Hypoglycemia ร้อยละ 18.4

 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2548
ปีการศึกษา : 2548
ปีงบประมาณ : 2548
วันที่เริ่ม : 1 ม.ค. 2548    วันที่แล้วเสร็จ : 1 ก.ย. 2548
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 0.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 0.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6