เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: พฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาวัยรุ่นในระยะคลอดโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
 นางเพ็ญพักตร์  ลูกอินทร์ หัวหน้าวิจัย
   ผู้ร่วมวิจัย
   ผู้ร่วมวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : การพยาบาลสูตศาสตร์
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   การคลอดถือเป็นภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นกับมารดาทั่วไป เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมายและหากเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น ถือเป็นภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นซ้ำซ้อนกับภาวะวิกฤต ที่เกิดจากพัฒนาการตามวัยของวัยรุ่น เนื่องจากมารดาวัยรุ่นส่วนใหญ่ ยังขาดความพร้อมในวุฒิภาวะทั้งด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคม ทำให้มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอดทั้งต่อมารดาและทารก
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของมรดาวัยรุ่นในระยะคลอด และเปรียบเทียบความแตกต่างของจำนวนครั้งของการฝากครรภ์ กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาวัยรุ่นในระยะคลอด
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    ห้องคลอด โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    เป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาวัยรุ่นในระยะคลอดและใช้ประยุกต์ปรับปรุง และวางแผนการปฏิบัติการพยาบาลในระยะคลอด เพื่อให้ได้การพยาบาลที่มีคุณภาพ
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาวัยรุ่นในระยะคลอด โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
    บทคัดย่อ
   

พฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาวัยรุ่นในระยะคลอด

โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

SELF-CARE BEHAVIOUR OF ADOLESCENT MOTHERS IN LABOUR STAGE

IN CHAOPRAYAYOMARACH HOSPITAL, SUPHANBURI PROVINCE

เพ็ญพักตร์ ลูกอินทร์ * และคณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาวัยรุ่นในระยะคลอด โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นที่มารับบริการคลอด ที่ห้องคลอดโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือเดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม 2550 มีจำนวน 119 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบ Crossection โดยใช้แบบสอบถามร่วมกับการสังเกต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม (Orem, 1995) ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบกลุ่มอิสระ (t-test Independent)

ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการดูแลตนเองของมารดาวัยรุ่นในระยะคลอดโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( = 48.63, SD = 3.85 )โดยแยกเป็นรายด้านสรุปได้ดังนี้ ด้านอนามัยส่วนบุคคล ( = 5.76, SD=0.79 ) ด้านโภชนาการ ( =2.93, SD=0.28 ) ด้านการขับถ่ายของเสีย ( =2.85, SD=0.41 ) ด้านการมีกิจกรรมและการพักผ่อน ( =5.94, SD=0.35 ) ด้านการป้องกันและเฝ้าระวังอันตรายและอาการผิดปกติในระยะคลอด ( =16.63, SD=1.15 ) ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ( =4.82, SD=0.67 ) ด้านการจัดการความเครียดและความวิตกกังวล ( =2.93, SD=0.31 ) และด้านการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด ( =6.73, SD=0.92 ) การเปรียบเทียบความแตกต่างของจำนวนครั้งที่มาฝากครรภ์พบว่า มารดาวัยรุ่นที่มาฝากครรภ์1-3 ครั้ง และมาฝากครรภ์ ตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไป มีพฤติกรรมการดูแลตนเองในระยะคลอด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

จากการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเสนอแนะในด้านการปฏิบัติการพยาบาลโดยมีการส่งเสริมให้มารดาวัยรุ่นมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในระยะคลอดในช่วงที่ไม่เจ็บครรภ์หรือเจ็บครรภ์ไม่มากหรือในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ควรกระตุ้นให้มาฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์นอกจากนี้การเปิดโอกาสให้ญาติเข้ามามีส่วนร่วมในระยะรอคลอดเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยประคับประคองให้มารดาวัยรุ่นสามารถผ่านการคลอดได้ และในด้านการวิจัย ควรมีการศึกษาการรับรู้กิจกรรมการดูแลตนเองของมารดาวัยรุ่นในระยะคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน เพื่อจะได้แนวทางการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในระยะคลอดให้สอดคล้องกับปัญหาของมารดาตามภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์

คำสำคัญ: พฤติกรรมการดูแลตนเอง / มารดาวัยรุ่นในระยะคลอด

*พยาบาลวิชาชีพ 8 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี

SELF-CARE BEHAVIOURS OF ADOLESCENT MOTHERS IN LABOUR

STAGE AT CHAOPRAYAYOMRAJ HOSPITAL, SUPHANBURI

PROVINCE

Penpak Luk-In and 1

Tassanee Puapolthep2

Chakkrit Luk-In1

Sarinthon Mangkamanee1

Abstract

The purpose of this study was to investigate adolescent mothers’ self-care behavior in labor stage. The sample consisted of 119 adolescent mothers in labor stage and were admitted in the Labor Room at Chaoprayayomraj Hospital, Suphanburi Province, Thailand. Data were collected from September to December, 2007. A questionnaire and a behavioral observation form were used for data collection. The questionnaire was developed based on the Orem’s Self-Care Theory. Descriptive statistics and the Independent t-test were used for data analysis.

Results showed that mean scores of self-care behaviors among adolescent mothers were in the high level ( = 48.63, SD = 3.85). The mean scores of the eight components included: the Healthiness Personal ( = 5.76, SD=0.79 ), Nutrition ( =2.93, SD=0.28 ), the Driving transfers waste matter ( =2.85, SD=0.41 ), Having activity and the relaxation ( =5.94, SD=0.35 ), the prevention and watch to is careful dangerous and unusual symptoms in labor stage ( =16.63, SD=1.15 ), having interaction and other persons ( =4.82, SD=0.67 ), tension administration and the anxiety ( =2.93, SD=0.31 ) and Confronting painful in labor stage ( =6.73, SD=0.92 ). There was statistically different in terms of self-care behaviors between the adolescent mothers who came to the Anti Natal Care (ANC) unit 3 times or fewer and those who came to the ANC Unit more than 4 times (p < .05).

Findings from this study suggest that effective and proper interventions by health care teams should be encouraged to use for adolescent mothers in labor stage in order to promote their self-care behaviors. Also, the mothers should be motivated to attend the ANC program. Self-care behaviors of adolescent mothers with complications in labor stage should be considered for future research.

Key words: self-care behavior, adolescent mothers

[1]



[1] Instructor at Boromarajonani college of Nursing Suphanburi

2RN at Chaoprayayomraj Hospital, Suphanburi Province

 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2549
ปีการศึกษา : 2550
ปีงบประมาณ : 2551
วันที่เริ่ม : 1 มี.ค. 2549    วันที่แล้วเสร็จ : 1 พ.ค. 2551
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 0.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 29,214.00 บาท สบช.
รวมจำนวนเงินทุน 29,214.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6