เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีวัย 35-60 ปี ในเขตอำเภอเมือง จ. สุพรรณบุรี
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
 นางเพ็ญพักตร์  ลูกอินทร์ หัวหน้าวิจัย
   ผู้ร่วมวิจัย
นาย อาคม  โพธิ์สุวรรณ ผู้ร่วมวิจัย
นางสาว วรางคณา  คุ้มสุข ผู้ร่วมวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : การพยาบาลสูติศาสตร์
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทยโดยพบมากเป็นอันดับ 1 ดังข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี พ.ศ. 2546 ที่รายงานว่าพบโรคมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 31 ของมะเร็งในสตรีทั้งหมด 1 การเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน เกิดความทุกข์ และเกิดความเจ็บปวด ซึ่งอาจมีผลต่อความสัมพันธ์ทางเพศกับสามี และส่งผลกระทบต่อจิตใจ อารมณ์ และสังคม เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้หากมีการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มแรก กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีนโยบายเร่งรัดให้ดำเนินการควบคุมป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ในปีงบประมาณ 2546 จังหวัดสุพรรณบุรีจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ การให้บริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยการทำ Pap smear ในกลุ่มสตรีอายุ 35-60 ปี ทุกอำเภอให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก ผลการดำเนินงานพบว่าสตรีกลุ่มนี้มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คิดเป็นร้อยละ 31.33 โดย ในเขตอำเภอเมืองมีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่มากที่สุด2ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ การวิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดปัญหาสาธารณสุขโดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับ Precede Framework เป็นรูปแบบการวิเคราะห์ปัจจัยภายในตัวบุคคลและภายนอกตัวบุคคลของกรีน และคณะ3 ที่พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพมี 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ร่วมกับแนวคิดทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) ของ เบคเกอร์4 โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบคือ ด้านการรับรู้ของบุคคล (Individual perception) ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของบุคคล (Perceived Susceptibility ) การรับรู้ความรุนแรง (Perceived Severity) การรับรู้ภาวการถูกคุกคาม (Perceived Threat) ด้านปัจจัยร่วม (Modifying factors)ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะทางประชากร ด้านจิตสังคม ด้านโครงสร้าง และปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติ และด้านความเป็นไปได้ของการปฏิบัติ (Likelihood of action) ได้แก่ การรับรู้ของบุคคลถึงประโยชน์ (Perceived Benefit) และการรับรู้ถึงอุปสรรค (Perceived Barriers) ซึ่งจากการศึกษาของ สมบูรณ์ บุณยเกียรติ และ อุบล ตุลยาภรณ์ 5 เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก พบว่าสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 18-65 ปีส่วนใหญ่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค และการรับรู้ประโยชน์ของการรักษา และอุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้บุคคลปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคอยู่ในระดับน้อย และการศึกษาของ วนิดา เสนะวงษ์6 พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมีผลต่อการป้องกันโรค การรักษา และการส่งเสริมสุขภาพ โดยการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการตรวจหามะเร็งปากมดลูกของคนงานสตรีจังหวัดนนทบุรี เนื่องจากสตรีกลุ่มนี้มารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยการทำ Pap smear เป็นจำนวนน้อยมาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก การรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกในด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก และหาความสัมพันธ์ของการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีวัย 35-60 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนดำเนินการรณรงค์ส่งเสริมการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีวัย 35-60 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    สตรีวัย 35 –60 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 18,609 ราย
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 55-60 ปีมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 31.75 มีสถานภาพสมรสแต่งงานและอยู่ด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ 83.90 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 65.10 มีอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 37.20 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 61.70 สถานบริการที่ไปใช้บริการมากที่สุดคือสถานีอนามัยใกล้บ้านร้อยละ 49.70 ส่วนใหญ่ใช้บัตรประกันสุขภาพ หรือ บัตรทอง ร้อยละ 87.202. การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับปานกลาง โดยพฤติกรรมที่ปฏิบัติมากที่สุด คือการทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยน้ำ หรือสบู่หลังขับถ่าย รองลงมาคือการล้างทำความสะอาดอวัยวะเพศจากช่องคลอดไปทางทวารหนัก3. การรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรค และการรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก อยู่ในระดับน้อย (ดังตารางที่ 1)4. การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรค และการรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก มดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 , .01 และ .001 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 2)5. การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรค และการรับรู้ประโยชน์ และอุปสรรคของการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้ในระดับน้อย คือ ร้อยละ 13.9 (ดังตารางที่ 3)
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : -
    บทคัดย่อ
   

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

ของสตรีวัย 35-60 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

FACTORS RELATING CERVICAL CANCER PREVENTIVE BEHAVIORS

AMONG WOMEN AGED BETWEEN 35-60 YEARS AT MUANG DISTRICT, SUPHANBURI

เพ็ญพักตร์ ลูกอินทร์ *

จักรกฤษณ์ ลูกอินทร์ **

วรางคณา คุ้มสุข***

อาคม โพธิ์สุวรรณ****

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีวัย 35-60 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi stage sampling) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 392 คน รวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ทดสอบค่าทีแบบกลุ่มอิสระ (t-test Independent) วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way analysis of variance) วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’correlation coefficient) และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =23.02, S.D.=3.02) ซึ่ง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีวัย 35 - 60 ปี คือ สถานภาพสมรส การคุมกำเนิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การสูบบุหรี่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่าการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 17.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01

จากการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเสนอแนะให้บุคลากรสาธารณสุขควรมีการเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างเสริมให้เกิดพฤติกรรมในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

Abstract

Cervical cancer incressingly becomes the leading health problem in Thailand. Evidence shows that women aged between 35 – 60 years, the high susceptible group, less aware concerning preventive behaviors towards cervical cancer. Therefore, it is necessary to explor factors associate with their preventive behaviors of cervical cancer.

This study was aimed to investigate factors relating cervical cancer preventive behaviors among women aged between 35 – 60 years at muang district, suphanburi province. Conducted interview guidline was used to interview 392 women aged between 35 – 60 years at muang district, suphanburi province. Data were analyzed by t-test, One-way analysis of variance, Pearson’s product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis.

The results of the study revealved that

The cervical cancer preventive behaviors mean scores of women were at the moderate level ( =23.02, S.D.=3.02). Factors relatinge to cervical cancer preventive behaviors in women were: marital status (p=.05), contraception (p=.05), percieved severity of cervical cancer (p=.01), smoking (p=.001), percieved susceptibility, percieved benefits and barriers were significantly (p=.001).

The multiple regression analysis indicated that perception of cervical cancer were significantly predicting variables on cervical cancer preventive behaviors (17.4% of variance, p=.01).

The results suggest that proper interventions by health teams should be implemented to women aged between 35 – 60 years in order to improve their perception towards cervical cancer. This could lead to proper behaviors toward cervical cancer preventive behaviors of women.

 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2548
ปีการศึกษา : 2548
ปีงบประมาณ : 2548
วันที่เริ่ม : 1 ม.ค. 2548    วันที่แล้วเสร็จ : 30 ก.ย. 2548
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 0.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 28,700.00 บาท สบช.
รวมจำนวนเงินทุน 28,700.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6