เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดบริการด้านสวัสดิการของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
นางสาว สุพัตรา  จันทร์สุวรรณ หัวหน้าวิจัย
นาง สุนทรี  ขะชาตย์ ผู้ร่วมวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : -
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ที่ผลิตบัณฑิตพยาบาล มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ปฏิรูปการการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีภารกิจหลัก คือ การส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัย การทำนุศิลปวัฒนธรรมและการบริการวิชาการแก่สังคม นอกจากนี้ได้จัดกิจกรรมและบริการด้านต่างๆ ให้กับนักศึกษาพยาบาล เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้และเกิดการผ่อนคลาย เช่น บริการด้านสื่อการเรียนการสอน บริการด้านห้องสมุด บริการด้านหอพัก บริการด้านการให้คำปรึกษา บริการด้านทุนการศึกษา บริการด้านกีฬาและนันทนาการ และบริการด้านสุขภาพอนามัย เป็นต้น

นอกจากนี้ การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเรียนเป็นส่วนสำคัญเพราะทำให้นักศึกษามีแรงจูงใจในการเรียนรู้ มีความต้องการเรียนรู้ เกิดทัศนคติที่ดีต่อสถานศึกษา โดยเฉพาะวิทยาลัยพยาบาลฯ เปรียบเสมือนเป็นบ้านหลังที่สองของนักศึกษา เนื่องจากนักศึกษาต้องพักอยู่หอพักของวิทยาลัยฯ ด้วยหลังจากเลิกเรียน ดังนั้นการจัดอาคารเรียน อาคารหอพัก และสิ่งแวดล้อมที่ดี จะช่วยให้นักศึกษาเกิดความรู้สึกที่ดีต่อวิชาชีพพยาบาล ตลอดระยะเวลาของการศึกษาในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี นอกจากการเรียนการสอน กิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยพัฒนานักศึกษาแล้ว การจัดบริการสวัสดิการด้านต่างๆ ก็มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้นักศึกษาพยาบาลมีความสะดวกในการเรียน ส่งผลให้นักศึกษามีความสุขในการเรียน และสามารถพัฒนาตนเองด้านการเรียนและด้านต่างๆ อย่างมีคุณภาพ จากความสำคัญของการจัดบริการด้านสวัสดิการแก่นักศึกษา ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาเรื่องความพึงพอใจต่อการจัดบริการด้านสวัสดิการ ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี เพื่อประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการจัดบริการสวัสดิการของนักศึกษาพยาบาลต่อไป


     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
   

1.ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อการจัดบริการด้านสวัสดิการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 5 ด้าน ได้แก่ 1)การบริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียน 2)การบริการด้านแนะแนวและให้คำปรึกษา 3)การบริการด้านกายภาพที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักศึกษา 4)การบริการแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา 5)การจัดโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษา

2.ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาล ที่มีต่อการจัดบริการด้านสวัสดิการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

    ขอบเขตของโครงการผลงาน
   

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มุ่งศึกษาความพึงพอใจและความคิดเห็นที่มีต่อการจัดบริการด้านสวัสดิการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2551 ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2551 – เดือนตุลาคม 2551

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
   

1. ทราบความคิดเห็นและปัญหาการจัดบริการสวัสดิการด้านต่าง ๆ ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

2. ได้แนวทางในการปรับปรุงการจัดบริการสวัสดิการด้านต่าง ๆ ของวัิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี เพื่อให้เหมาะสมและนักศึกษาเกิดความพึงพอใจต่อการบริการในระดับดี

     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : -
    บทคัดย่อ
   

บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อการจัดบริการด้านสวัสดิการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี การศึกษาครั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 440 คน โดยเก็บตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมทั้งหมดของนักศึกษาพยาบาล มีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสวัสดิการระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 20.7 มีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสวัสดิการระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 74.5 และมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสวัสดิการระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 4.8 เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า นักศึกษาพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสวัสดิการ ระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านแนะแนวและให้คำปรึกษา คิดเป็นร้อยละ 41.8 รองลงมา คือ ด้านการจัดโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 40.5 พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสวัสดิการระดับน้อย ได้แก่ ด้านกายภาพที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 25.9 และมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสวัสดิการระดับน้อยที่สุด ได้แก่ด้านแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 7.5 ข้อเสนอแนะของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดบริการสวัสดิการ ได้แก่ 1) ปรับปรุงด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียน 2) ปรับปรุงด้านกายภาพที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักศึกษา 3) ปรับปรุงด้านแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา

ผลการวิจัยนี้ ส่งผลให้มีปรับปรุงการจัดบริการสวัสดิการสำหรับนักศึกษาพยาบาล เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลมีความสะดวกในการเรียน ส่งผลให้นักศึกษามีความสุขในการดำเนินชีวิต สามารถพัฒนาตนเองอย่างมีคุณภาพ

คำสำคัญ : ความพึงพอใจ, การจัดบริการ, สวัสดิการ

Students’ Satisfaction on Provided Welfare Services

of Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi

Supattra Phumphuang, MNS, RN

Soontaree Khachat, MNS, RN

Abstract: The purpose of this study was to investigate students’ satisfaction on the provision of welfare services by Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi. A survey design was employed in the study. All nursing students who registered in the 2008 academic year were purposively selected. Therefore, 440 students were included in this study. Two questionnaires were used for data collection, including the Personal Information Form and the Satisfaction on Provided Welfare Services Questionnaire. The Cronbach’s Alpha Coefficient of .82 indicated the reliability of the questionnaire. Descriptive statistics including frequencies, percentage, mean, and standard deviation were used for data analysis.

Results show that overall, 20.7% of nursing students were most satisfied. 74.5% reported moderate satisfaction. Subsequently, only 4.8% expressed least satisfaction. The top two aspects of students’ satisfaction with highest scores were consulting services (41.8%) and student development programs (40.5%), respectively. Students also reported that they had the lowest satisfaction on physical environments (25.9%) and the beneficial information sources (7.5%). In addition, the most recommendations by nursing students to improve school welfare services included the improvement of physical environments and beneficial information sources.

An empirical knowledge obtained from this study provided a rationale for improving welfare services in BCNS. Especially, physical environments and the beneficial information sources were the most services considered by the college in order to improve quality of life among nursing students.

Key Words: Satisfaction, welfare services, nursing students

 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2551
ปีการศึกษา : 2551
ปีงบประมาณ : 2552
วันที่เริ่ม : 1 พ.ค. 2551    วันที่แล้วเสร็จ : 31 ธ.ค. 2551
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 11,950.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 11,950.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6