เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: ความฉลาดทางอารมณ์ ความเครียดของนักศึกษาพยาบาลและบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี สุพรรณบุรี
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
นางสาว สุพัตรา  จันทร์สุวรรณ หัวหน้าวิจัย
นาง สุนทรี  ขะชาตย์ ผู้ร่วมวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : -
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   

ถ้าบุคคลในสังคมไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ อาจจะทำให้สังคมวุ่นวายมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะบ่อเกิดของความรุนแรงในสังคมที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งเริมต้นมาจากอารมณ์ของตนเองเป็นสำคัญ เนื่องจากการที่ไม่รู้จักอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง ทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ย่อมส่งผลกระทบทั้งตนเอง บุคลรอบข้าง และสังคม


     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
   

1. เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลและบุคคลากร

2. เพื่อศึกษาระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลและบุคลากร

3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์รหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลและบุคลากร

    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาความฉลาดทางอารมณ์กับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 และพยาบาลศาสตร์เทียบเท่าปรญญาตรี (ต่อเนื่อง) ชั้นปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2549 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี จำนวน 322 คน อาจารย์ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี จำนวน 40 คน
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
   

1. ได้ข้อมูลด้านความฉลาดทางอารมณ์ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล

2. เป็นข้อมูลพื้นฐานของวิทยาลัยฯ ในการพัฒนาระบบการจัดการความเครียดในนักศึกษาพยาบาล

3. ได้ข้อมูลด้านความฉลาดทางอารมณ์ของอาจารย์ เจ้าหน้าที่ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนแนวคิดให้เกิดความยืดหยุ่นและเกิดความร่วมมือเพิ่มมากขึ้น

4. เป็นข้อมูลพื้นฐานของวิทยาลัยฯ ในการพัมนาระบบการทำงานให้มีความสุขของบุคลากร

     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : -
    บทคัดย่อ
   

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ ความเครียดและความสัมพันธ์

ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลและบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรม ราชชนนี สุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 และ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ เทียบเท่าปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ภาคพิเศษ ชั้นปีที่ 3 ที่ ศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2549 และบุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี จำนวน 362 คน โดยผู้วิจัยแจกแบบสอบถามทั้งฉบับแก่กลุ่มตัวอย่างด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม สำเร็จรูปทางสถิติสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ได้ทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’ Product Moment Correlation)

จากการศึกษาพบว่า

1. นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่ร้อยละ 87.3 มีความฉลาดทางอารมณ์ในระดับปกติ และร้อยละ 12.1 มีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าปกติ และบุคลากรส่วนใหญ่ร้อยละ 82.1 มีความฉลาดทางอารมณ์ ในระดับปกติ และร้อยละ 17.9 มีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าปกติ

2. นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่ร้อยละ 66.8 มีความเครียดในระดับปกติ และร้อยละ 17.4 มี ความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย และบุคลากรส่วนใหญ่มีความเครียดปกติร้อยละ 71.4 และร้อยละ 14.3 มีความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย

3. ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดใน ระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ -0.303 ส่วนความ ฉลาดทางอารมณ์ของบุคลากรมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดในระดับต่ำ อย่างไม่มีนัยสำคัญทาง สถิติ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ -0.101 ข

TITLE EMOTIONAL INTELLIGENCE AND STRESS OF NURSING

STUDENTS AND STAFF, BOROMARAJONANI COLLEGE OF NURSING, SUPHANBURI

AUTHOR SUPATTRA PHUMPHUANG

SOONTAREE KHACHAT

ORGANIZATION BOROMARAJONANI COLLEGE OF NURSING SUPHANBURI

ABSTRACT

The purpose of this research was to examined the level of emotional intelligence, the level of stress and to determine the relationship between nursing students and staff emotional intelligence and their stress at Boromarajonani College of Nursing Suphanburi.

The population consisted of 362 nursing student and staff, who are studying in Bachelor of nursing Science in 1st – 4 th year. Who are staff working of Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi. The research instrument was composed of 3 parts: demographic characteristics of nursing students, emotional intelligence assessment scales, and stress self- assessment scales for Thai people which were constructed by Department of Mental Health, Ministry of Public Health. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coeffcient.

The results of the study were as follows:

  1. Most of nursing students which accounted 87.3 % had a normal level of emotional

intelligence, 12.1 % of them had a high level of emotional intelligence. Most of staff which accounted 82.1 % had a normal level of emotional intelligence, 17.9 % of them had a high level of emotional intelligence

  1. Most of nursing students which accounted 66.8 % had a normal level of stress, 17.4 % of

them had a high level of stress. Most of staff which accounted 71.4 % had a normal level of stress, 14.3 % of them had a high level of stress

  1. Intelligence and the level of stress at statistically significant level of 0.01 ( r=-0.303 )

Staff were low reverse relationship between the level of emotional intelligence and the level of stress at statistically no significant ( r=-0.101 )

 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2549
ปีการศึกษา : 2549
ปีงบประมาณ : 2549
วันที่เริ่ม : 1 พ.ย. 2549    วันที่แล้วเสร็จ : 1 ก.ย. 2549
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 19,500.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 19,500.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6