เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทัศนคติต่อการทำงานบริการและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ประจำปีการศึกษา 2552
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
นาง สุนทรี  ขะชาตย์ หัวหน้าวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : ภาคการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี เป็นวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งการจัดการเรียนการศึกษาของวิทยาลัยได้ดำเนินการ ตามนโยบายการจัดการศึกษาของสถาบันพระบรมราชชนนก โดยจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน เกิดการคิดวิเคราะห์ มีแนวคิดและทัศนะคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานบริการประชาชน ในปีการศึกษา2552 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี มีนักศึกษาชั้นปีที่1-4 จำนวน 403 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 12-15 โดยมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด ได้แก่บัณฑิตจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาชีพ มีทักษะการสื่อสาร มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งมีเจตคติที่ดี เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นพลเมืองที่ดี เป็นสมาชิกที่ดีของวิชาชีพ มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถบริการความรู้ทางการพยาบาลและศาสตร์อื่นๆ ไปใช้ในการปฏิบัติงานในระบบสุขภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งในภาวะสุขภาพดี เจ็บป่วยจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต และพัฒนาศักยภาพของประชาชนให้สามารถดูแลตนเอง พึ่งตนเองเพื่อการดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ของบัณฑิตต้องมีความรู้ความสามารถพื้นฐาน ความสามารถเชิงวิชาชีพ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ครอบคลุมถึงการมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานบริการและจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งสถาบันพระบรมราชชนกได้นำมาเป็นตัวบ่งชี้ที่ 2.9.4 องค์ประกอบที่2 การเรียนการสอน ในการประกันคุณภาพการศึกษา (สถาบันพระบรมราชชนก,2551)

คุณลักษณะทางวิชาชีพ ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญทางวิชาชีพ ประกอบด้วย ค่านิยม บรรทัดฐาน ประเพณี สัญลักษณ์ จรรยาบรรณและพฤติกรรม อันดำรงไปสู่การดำรงรักษามาตรฐานและเอกลักษณ์แห่งวิชาชีพ ซึ่ง พยาบาลเป็นบุคลากรที่ต้องปฏิบัติงาน กับผู้คนและผู้รับบริการ ที่มีความหลากหลาย หากขาดทัศนคติและแรงจูงใจที่ดี แม้จะมีความรู้ความสามารถเพียงใดก็ตาม ย่อมยากที่จะได้ผลงานดี ยิ่งเป็นงานด้านสุขอนามัย ต้องสัมผัสกับผู้รับบริการที่หลากหลายซึ่งล้วนแต่มีความทุกข์ ต้องการบำบัดรักษาทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย หากผู้บริการขาดความรู้ความเข้าใจ ครามเป็นไปของชีวิตย่อมก่อให้เกิดทัศนคติทางลบ ท้ายสุดขาดกำลังใจ ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจให้บรรลุเป้าหมายคุณภาพได้ ดังนั้นการมีทัศนคติที่ดีต่อการดำรงชีวิต ย่อมเป็นที่จูงใจในการปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วง ซึ่งตรงกับคุณสมบัติด้านคุณธรรม และจริยธรรมสอดคล้องกับกาญจนา สันติพัฒนาชัย (2545) ได้ทำการศึกษาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาหรือบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ที่พึงประสงค์ในอนาคต ทั้งในส่วนของสาธารณสุขและจากหน่วยงานอื่นๆ ที่ควรมี นอกจากนี้การพยาบาลมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือคนให้สามารถดำรงภาวะสมดุล หรือภาวะสุขภาพดีได้และช่วยผู้ที่เจ็บป่วยให้ปรับตัวสู่ภาวะสมดุล การพยาบาลซึ่งมีความครอบคลุมในทุกภาวะสุขภาพของคน จะใช้กระบวนการพยาบาลเป็นกลไกช่วยเหลือซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การประเมินสุขภาพ การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล การประเมินผล การป้องกันโรค การดูแลรักษา การฟื้นฟูสภาพ การที่พยาบาลจะใช้บทบาทใดมากนั้นจะมีความแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นกับสุขภาพของตนในฐานะของผู้รับบริการ (ศิริพร ขัมภลิขิต,2539) จะเห็นได้ว่าในการปฏิบัติงานสิ่งที่พยาบาลต้องใช้อยู่เสมอ คือ ทักษะในการแก้ปัญหา ซึ่งผ่านกระบวนการคิด บางครั้งจำต้องใช้ความคิดที่ซับซ้อน เพื่อประเมินสถานการณ์ทางการพยาบาล ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาจากข้อมูลที่มีอยู่ อันจะนำไปสู่การกำหนดแผนการปฏิบัติการพยาบาลที่เหมาะสมได้ในที่สุด ความสามารถในการแก้ปัญหา พยาบาลจะต้องพัฒนาให้มีความรวดเร็วถูกต้องซึ่งต้องอาศัยพื้นฐานของความสามารถในการคิดวิจารณญาณ ( Chlowski & Chan ,1995:152; Pardue,

1987:355;Roberts,et.Al, 1993:886) ซึ่งอรพรรณ ลือบุญธวัชชัย (2538) กล่าวว่า การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นกระบวนการในการใช้สติปัญญาในการคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างสุขุมรอบครอบ มีเหตุผล มีการประเมินสถานการณ์ เชื่อมโยงเหตุการณ์ สรุปความ ตีความ โดยอาศัยความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของตนเองในการสำรวจหลักฐานอย่างละเอียด เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล

ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทัศนคติต่อการทำงานบริการสุขภาพและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ประจำปีการศึกษา 2552 เพื่อเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่ส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาความรู้ความสามารถและพฤติกรรมให้มีลักษณะตรงกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึ่งประสงค์


     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
   

1.เพื่อศึกษาความคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

2.เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการทำงานบริการของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

3.เพื่อศึกษาการรับรู้ต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษา และอาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

    ขอบเขตของโครงการผลงาน
   

การวิจัยครั้งนี้ เป็นศึกษาความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทัศนคติต่อการทำงานบริการและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ประจำปีการศึกษา 2552 โดยศึกษาในนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1-4 ภาคการศึกษาสุดท้าย ปีการศึกษา 2552

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
   

1. ทำให้ทราบข้อมูลนักศึกษาเกี่ยวกับความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทัศนคติต่อการทำ

งานบริการและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ อันจะเป็นประโยชน์สำคัญสำหรับ

ผู้บริหาร ในการบริหารหลักสูตร เพื่อพัฒนาบัณฑิตให้มีลักษณะที่พึงประสงค์

2. เป็นประโยชน์สำหรับผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ รองผู้อำนวยการงานวิชาการ รองผู้อำนวย

การงานกิจการนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาสโมสรนักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษา ใช้

เป็นแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในด้านพื้น

ฐานและวิชาชีพ เกิดทัศนคติที่ดีต่อการบริการ เกิดทักษะการคิด และการตัดสินใจ

มีมนุษย์สัมพันธ์ พัฒนาบุคลิกภาพ ตลอดจนปลูกผังคุณธรรมจริยธรรมและ

จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

3. เป็นประโยชน์สำหรับหัวหน้าระดับภาควิชา ในการวางแผนการจัดการเรียนการ

สอน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อไป

     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  :

    บทคัดย่อ
   

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ ศึกษาความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทัศนคติต่อการทำงานบริการและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ 12 -15 จำนวน 403 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบวัดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบวัดทัศนคติต่อการทำงานบริการสุขภาพ และแบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows โดยแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละของและหาค่าเฉลี่ย ในภาพรวมและรายชั้นปี

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

นักศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 ประจำปีการศึกษา 2552 มีจำนวน 403 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 381 คนคิดเป็นร้อยละ 94.54 เพศชาย 22 คน คิดเป็นร้อยละ 5.46

ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ในภาพรวม นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตส่วนใหญ่ มีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 65.51 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 34.24 และระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 0.25 ตามลำดับ จำแนกตามรายชั้นปีพบว่า นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 12 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณในระดับปานกลางมากที่สุด จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 63.16 ของจำนวนนักศึกษาชั้นปีที่4 และ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 13 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณในระดับปานกลางน้อยที่สุด จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 15.73 ของจำนวนนักศึกษาชั้นปีที่3

ทัศนคติต่อการทำงานบริการของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ในภาพรวม นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตส่วนใหญ่ มีทัศนคติต่อการทำงานบริการในระดับคะแนนดี คิดเป็นร้อยละ 75.93 เมื่อจำแนกตามชั้นปี พบว่า นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 12 มีทัศนคติต่อการทำงานบริการอยู่ในระดับดีและดีมากมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100 และ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 13 มีทัศนคติต่อการทำงานบริการในระดับดีและดีมากมากที่สุด น้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 85.39 ของจำนวนนักศึกษาชั้นปีที่3

ค่าเฉลี่ยคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ในภาพรวม เท่ากับ 3.92 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า บัณฑิตส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยด้านคุณธรรม จริยธรรมค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.30 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 ด้านทักษะการปฏิบัตทางวิชาชีพค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 ด้านทักษะทางปัญญาค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 ด้านความรู้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 ด้านทักษะการวิเคราะห์และการสื่อสารค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.04 ตามลำดับ

ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทัศนคติต่อการทำงานบริการและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ประจำ ปีการศึกษา 2552 ในนักศึกษาที่มีคะแนนดีขึ้น เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน บัณฑิตส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อการทำงานบริการ มีจำนวน 364 คน คิดเป็นร้อยละ 90.77 รองลงมาคือ มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ มีจำนวน 352 คน คิดเป็นร้อยละ 87.78 และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีจำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 24.44

Research Title Critical Thinking, Attitude towards Health Services and Desired Characteristic of the

Graduates in Nursing Science Programat Boromarajonani College of Nursing Suphanburi

Researchers Mr. Suthin Pinkaew

Ms. Soontari Khachat

Academic Year 2010

Abstract

The objective of this study was to study the critical thinking, attitude towards health services and desired characteristic of graduates in nursing science program at Boromarajonani College of Nursing Suphanburi. Participants included 403 graduate students in the faculty of nursing, generation 12-15, Boromarajonani College of Nursing Suphanburi. Data was collected by questionnaires asking about critical thinking and attitude towards health services, and desired characteristic of the graduate scale. Applied tools to analyze data were distribution, percentile and mean average of the overall and yearly data using SPSS for windows.

Research Findings

Total participants were 403 students in the faculty of nursing, generation 12-15, Boromarajonani College of Nursing Suphanburi. They were 381 female (94.54 percent) and 22 males (5.46 percent)

The overall picture was concluded that 65.51 percent of participants had low critical thinking, 34.24 percent had fair critical thinking and 0.25 percent had high critical thinking respectively. Further to the yearly analysis, it was found that 60 students in senior year (63.16 percent), generation 12, had got fair critical thinking. 28 students in third year, generation 13, had got lowest fair critical thinking or 15.73 percent.

The overall attitude towards health services of students in the faculty of nursing, Boromarajonani College of Nursing Suphanburi was good or 75.93 percent. According to yearly analysis, it was found that senior year students in generation 12 had got good and very good attitude towards health service or 100 percent of all. 85.39 percent of third year students, generation 13, had got good and very good attitude towards health services.

The average desired characteristic of students in the faculty of nursing at Boromarajonani College of Nursing Suphanburi was 3.92 percent. Further to aspects analysis, it was found that average moral and virtue of the participants was 4.30 percent, average interpersonal skill and responsibility was 3.96 percent, average professional skill was 3.92 percent, average intellectual skill was 3.80 percent, average knowledge was 3.58 percent, average analysis and communicative skill was 3.04 percent respectively.

Further to the analysis of critical thinking, attitude towards health service and desired characteristic of students, in the faculty of nursing, Boromarajonani College of Nursing Suphanburi, academic year 2552 B.E. had got better results. That is to say 364 students or 90.77 percent had better attitude, 352 students or 87.78 percent had desired characteristic and 98 students or 24.44 percent were capable in critical thinking.

ดาว์โหลดไฟล์บทคัดย่อ :  ดาวน์โหลดไฟล์ หน้าปกวิจัย.doc
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2553
ปีการศึกษา : 2553
ปีงบประมาณ : 2554
วันที่เริ่ม : 16 ก.ค. 2553    วันที่แล้วเสร็จ : 30 พ.ย. 2553
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 11,900.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 11,900.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
     
       ดาวน์โหลดไฟล์ ขอ้มูลวิจัยอ.แม็ก.docx
ทั้งหมด 2 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6