เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
 นางจารุวรรณ  สนองญาติ หัวหน้าวิจัย
   ผู้ร่วมวิจัย
นาง ยุคนธ์  เมืองช้าง ผู้ร่วมวิจัย
นางสาว ศิริธิดา  ศรีพิทักษ์ ผู้ร่วมวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   องค์การอนามัยโลก(WHO, 2009) กล่าวว่าประมาณ 2 พันล้านคนทั่วโลกมีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอีก 76.3 ล้านคนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลื คือ การป่วยและการตาย และสิ่งสำคัญที่สุดคืออาการมึนเมาจะมีผลกระทบต่อสังคม สุขภาพ และผลกระทบทางชีวเคมีของแอลกอฮอล์ จะส่งผลทำให้เกิดโรคเรื้อรัง จากการศึกษา ผลของการประยุกต์ใช้กระบวนการเสริมสร้างทักษะชีวิต กับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ในประเทศไทยพบว่ามีอัตราการบริโภคเพ่มขึ้นอย่างรวดเร็ดโดยฉพาะในปี 2543 สุงเป็นอันดับ 5 ของโลกมีการบริโภคต่อหัว 13.59 ลิตร วัยรุ่นนักดื่มหน้าใหม่มีอายุน้อยลง จำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งจากการศึกษาเบื้องต้นในพื่นที่พบว่า ส่วนใหญ่เริ่มลองดื่มในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 โดยการลด งดหรือชะลอเวลาการเริ่มดื่มให้นานที่สุด (ราณี วงศ์คงเดช ,2549) นอกจากนี้จากการศึกษาของลินดา สเปียร์ (www.pyramidtennis.com, อ้างอิงวันที 8 ธันวาคม 2553 ) พบว่าการที่เด็กวัยรุ่นมีพฤติกรรมแปลกๆ แต่เดิมนั้น ผู้ปกครองและวงการแพทย์ สรุปว่ามักเกิดจากฮอร์โมนในร่างกาย แต่ในปัจจุบัน งานวิจัยใหม่ๆ ได้พบว่า สาเหตุที่แท้จริงของพฤติกรรมแปลกๆ เช่น ก้าวร้าวรุนแรง หรือหน้าตาบึ้งตึง ไม่เป็นมิตร ไม่พูดกับใคร เอาแต่ใจตนเอง ตัดสินใจผิดพลาด ตลอดช่วงวัยรุ่นนั้นไม่ได้มีสาเหตุจากฮอร์โมนเพียงอย่างเดียวแต่อาจเกิดจากสมองด้วย โดยนักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทคิดว่าสมองของมนุษย์เราหยุดการพัฒนาตั้งแต่ในวัยเด็ก เมื่อเด็กอายุได้ 6 ขวบ สมองจะพัฒนาโครงสร้างไปได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ของสมองผู้ใหญ่ แต่งานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ล้วนมีพื้นฐานจากการสแกนของทารก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสร้างการเกี่ยวพันของประสาทในอัตรที่สูงมากในช่วงที่เกิดจนถึง 3 ขวบ แต่การศึกษาใหม่ค้นพบว่าสมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงที่ 2 ด้วย ซึ่งเริ่มตั้งแต่ก่อนเข้าวัยรุ่นไปจนถึงอายุ 20 ต้น ๆ (มากที่สุดประมาณอายุ 11 ปี สำหรับเด็กหญิง และ 12 1/2 ปี สำหรับเด็กชาย) ความจริงนั้นอยุ่ที่ว่าการทำงานของสมองที่ทำการคิดมีผลต่อความสามารถของวัยรุ่นในการประเมนผลและตอบสนองอย่างเหมาะสมกับอารมณ์ของวัยรุ้นคนอื่นๆและของตัวเองด้วย สมองของวัยรุ่นกำลังพัฒนาใหม่ ในขณะเดียวกันสังคมใหม่ก็ยื่นอาวุธแห่งความตายให้หลายอย่าง ทั้งสุรา , รถยนต์,บุหรี่,ยาเสพติด, ปืน จากสถิติจากศูนย์สถิติสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐฯ ระบุว่า เด็กที่อายุระหว่าง 15 ถึง 19 แ มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตมากกว่าปกติถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับเด็กอายุ 10 ถึง 14 ปี จากสาเหตุต่อไปนี้ คือ อุบัติเหตุ, ฆาตกรรม,ฆ่าตัวตาย,และยาเสพติดและความเสี่ยงในปัจจุบันที่เป็นปัญหาหนักใจให้แก่พ่อแม่ของเด็กมัธยมปลาย ได้แก่ การลองดื่มแอลกอฮอล์ ถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และมากกว่า 5 ล้านคน จะดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อยเดือนละครั้งอายุเฉลี่ยของการเริ่มดื่มแอลกอฮอล์คือ อายุ 14 ปี สถิติคนไทยมีอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมกันทุกประเภทเป็นปริมาณ 8.47 ลิตร/คน/ปี เป็นอันดับที่ 40 ของโลกและเป็นอันดับต้น ๆ ของเอเชี และปริมารการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทย ทั้งสิ้นประมาณ 2479 ล้านลิตรต่อปี และบริโภคเฉลี่ยประมาณ 50.3 ลิตรต่อคน (รายงานสาธารณสุขไทย, 2550) และเมื่อพิจารณาแยกตามภูมิภาค แระชาชนภาคใต้มีอัตราของผู้ที่ไม่เคยดื่มแอลกอฮอล์เลยสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกัภาคอื่นๆ และภาคเหนือับภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการดื่มแอลกอฮอล์เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ เมื่อพิจารณาแนวโน้มความชุกของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในประเทศไทยประจำปี ในปี 2550 เพศชสยที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำคิดเป็นร้อยละ 37.7 เพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 3.8 และความแตกต่งในระยะเวลา 10 ปี เพศหญิงมีแนวโน้มการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เปฌนประจำมากที่สุดคือร้อยลุ 65 ส่วนเพศชายเพียงร้อยละ 35 ในระยะเวลา 10 ปี พบว่า ช่วงอายุ 15-17 ปีมีอัตราการดื่มมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีอัตราการดื่มที่เพิ่มมากขึ้นกว่าช่วงอายุอื่น รองลงมาคือช่วงอายุ 20-24 ปี คิดเป็นร้อยละ 44 โดยฉพาะในกลุ่มเพศหญิง และกล่มเยาวชน ช่วงอายุ 15-19 แ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตของผุ้ที่มีพฤติกรรมการบริโภคเครื่องอื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ซึ่งในกลุ่มเยาวชนสะท้อนว่าเยาวชนกำลังถูกมอมเมาให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างมาก จากการศึกษาวิจัย อภินันทื อร่ามรัตน์ (2553) ว่าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์2551 ประเทศไทยได้เสนอกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ใหม่ ควบคุมการผลิต การขาย การใช้ และการจัดการกับผุ้เสพติดเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์มุ่งความสนใจไปที่หวมด 4 ของกฏหมายใหม่ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มอายุผู้ที่สามารถซื้อเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ได้ตามกฎหมาย จากอายุ 18 ปี เป็น 20 ปี จำดัเรื่องการโฆษณา เวลา การเส่งเสริมการขาย และห้ามการขายและดื่มในสถานที่ทีกำหนด ได้แก่ ในวัด โรงเรียน จากการสำรวจ และมหาวิยาลัยเป็นต้น โครงการวิจัยนี้เป็นความร่วมมือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ จากการสำรวจพบว่าการบริโภคแอลกอฮอล์ในประเทศไทยสูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก โดยเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ภายใน 14 ปีที่ผ่านมา (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทย, 2549) แอลกอกอฮอล์มีบทบาทถคง 90 % ของการเสียชีวิต ด้วยอุบัติเหตุบนท้องถนน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตวันละ 37 คน (คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2548 ) แอลกอฮอล์ถูกใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มเยาวชนและหนุ่มสาวในประเทศไทยเช่นเดียวกับสถานการณ์ทั่วโลด (สำนักคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทย, 2549; WHO,2547) ในกลุ่มอาสาสมัครอายุระหว่าง 18 ถึง 25 ปี (N=983)ในการวิจัยโดยการแทรกแซงทางพฤติกรรมของเรา ก่อนมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย พบว่า 100 % รายงานเคยดื่มแอลกอฮอล์ และ 50 % รายงานว่าเคยดื่ม 4-6 วันต่อสัปดาห์ภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ 74% รายงานว่าเคยมีเพศสัมพันธ์ขณะเมา การศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงอัตราการบริโภคแอลกอฮอล์ที่สูงในอัตราที่กลุ่มเยาวชนไทยจากการสำรวจเบื้อต้นในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี (สำนักงานสถิติแห่งชาติ,2550)พบว่า อายุที่ดื่มเครืองดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรก คืออายุ 16 ปี รองลงมาคืออายุ 15 ปี และอายุเริ่มน้อยลงเรื่อย และจากการศึกษาข้อมุลในเยาวชน (15-24 ปี พบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ลองดื่มครั้งแรก คือเบียรืเพราะหาซื้อได้ง่าย รองลงมาเป็นสุราขาว สาเหตุหลักของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปัจจุบันคือ เข้าสังคม และรองลงมาคืออยากลอง เพื่อนชวน เหตุผลของการดื่มแอลกอฮอล์พบว่า มีความเหมือนกันระหว่างผุ้ชายกับผู้หญิง โดยให้เหตุผลในการตัดสินใจดื่มครั้งแรกเช่นเดียวกันว่า เพื่อเข้าสัมคม/สังสรค์รองลงมาคืออยากทดลอง และเพื่อความโก้แก๋ อัตราการดื่มสุราของเยาวชนในปี 2550 เฉลี่ยร้อยละ 21.9 โดยผู้ชายดื่มร้อยละ 39.2 และผุ้หญิง ร้อยละ 4 ผุ้ชายมีอัตราดื่มอมากกว่าผู้หญิง 8 เท่า (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2550) โดยมีแนวโน้มว่าผุ้ดื่มทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะมีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ สถิติย้อนหลังตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2532 ถึง 2546 ปริมาณลิตรของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทยสูลขึ้นถึง 3 เท่าตัว โดยในปี พ.ศ.2546 คนไทยร้อยละ 30 ดื่มสุรารวมแล้วสูงกว่า 3,691 ล้านลิตร โดยวัยรุ่นชาย ดื่มเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21 ส่วนวัยรุ่นหญิงดื่มเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าตัว ในเวลา 7 ปี จากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 5.6 นอกจากนี้ยังพบว่าเยาวชนไทยที่เริ่มดื่มแอลกอฮอล์คั้งแต่อายุ 10-13 ปีมีอัตราเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สอดคล้องกับการเพิ่มงบประมาณในการโฆษณาธุรกิจเหล้าจากจำนวน 1.9 พันล้านบาทในปี 2542 เป็น 2.4 พันล้านบาทในปี 2548 (www.thaihealth .or.th, เข้าถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2553 ) สอดคล้องกับการศึกษาของศรีรีช ลาภใหญ่ (2551) เรื่องการรับรู้ ทัศนคติ และความต้องการมีส่วนร่วมของเยาวชนต่อการยับยั้งปัญหาและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในครอบครัว โดยงานวิจัยดังกล่าวมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรีนชั้นประถมศึกษาในชุมชนระดับรากหญ้าของกรุงเทพมหานคร (www.rsunews.nst/Nees /ResearchAlcoholic,เข้าถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2552) ซึ่งถือเป็นงานวิจัยครั้งแรกที่มีการศึกษาวิจัยกลุ่มตัวอย่างที่อายุต่ำกว่า 15 ปี การวิจัยดังกล่าวทำให้พบว่าพฤติกรรมการดื่มในปัจจุบันนี้ไม่ได้จำกัดแค่ในกลุ่มของเด็กที่อายุ 18 ปี ขึ้นไปหรือกลุ่มนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ปัจจุบันพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับขยายตัวไปถึงเด็กในระดับประถมศึกษาตอนปลาย และจากการสำรวจที่ป่านมาพบนักดื่มอายุที่ตำสุดเพียง 7 ปีเท่านั้น จึงมีพาดหัวข่าวว่า " ผลวิจัยชี้เด็กไทยลองดื่มเหล้าตั้งแต่ 7 ขวบ" ข้อความนี้ได้สร้างความสะเทือนอารมณ์กับคนในสังคมไทยเป็นอย่างมาก แม้หลายฝ่ายจะท้วงติงว่างานวิจัยสื่อถึงภาพลักษณ์แง่ลบมากเกินไป แต่ผุ้วิจัยยืนยัยว่าจ้อมูลดังกล่าวเป็นการเก็บข้อมูลจาแข้อเท็จจริงที่สังคมควรร่วมมือกันแก้ไข มิฉะนั้นอาจเป็นฝันร้ายของชาติไทยในอนาคตจากการศึกษาของอดิศักดิ์ พละสาร (2552) ที่ศึกษาการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ เกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผลการทดสองพบว่า หลังการทดลองนักเรียนในกลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมสุขศึกษา โดยการรับรู้ประโยชน์ของการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการดื่มเครืองดื่มแอลกอฮอล์ การรับรู้ในการควบคุมพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอลื และความตั้งใจในการไม่ดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ดีขึ้นกว่าการทดลอง สอดคล้องกับการศึกษาของ พรทิพย์ ขุนจันทร์ (2551) ได้ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษา โดยการประยุกต์ใช้แรงจูงใจเพื่อการป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่ากลุ่มทดลองมีการประเมินอันตรายในเรื่องการรับรู้ความรุนแรงของกรดืมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การประเมินการเผชิญปัญหาในเรื่องความคาดหวัง ในความสามารถของตนเองในพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองในพฤติกรรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบดทียบมีนัยสำคัญทางสถิติจากการทบทวนวรรณกรรม และข้อมูลทีเกี่ยวข้องดังกล่าว พบว่าพฤติกรรมของเยาวชนโดยเฉพาะ ในวัยรุ่นตอนต้น เป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลไปยังการปฏิบัติตัว และการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้องอาศัยความตั้งใจ การรับรู้ในการควบคุมพฤติกรรม การที่จะคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในส่วนการคล้อยตามกลุ่มอ้างดิงมีความสอดคล้องกับเรงสนับสนุนทางสังคม แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะมีกฎหมายควบคุมการโฆษณาเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้มงวดมาก โดยเปิดโอกาสเพียงแค่การโฆษณาในรูปแบบ Corporate Social Responsibility (CSR) เพื่อเผยแร่ความรุ้เกี่ยวกับความรับผิดชอบทางสังคมและคณธรรมของธุรกิจเท่านั้น จึงทำให้เกิด Substitution Effect หรือการโฆษณาทดแทนขึ้น ซึ่งไม่ว่าภาครัฐจะปิดกั้นโฆษราทางใดทางหนึ่ง ธุรกิจแอลกอฮอลืก็จะหาช่องทางอื่น เพื่อโฆษณาสินค้าของตัวเองทั้งจากการเป็นสปอนเซอร์ในการจัดงานเทศการต่างๆ กรทำการตลาดในรูปแบบขายตรงหรือโฆษณาแฝงในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการทำการตลาดเหล่านี้กฎหมายไม่สามารถควบคุมได้ ดังนันการรู้เท่ากันสื่อ รวมทั้งความสามารถของบุคคลในการใช้ทักษะที่จำเป็นในการเผชิญสถานการร์ที่นำไปสู่การดื่มเครืองดื่มแอลกอฮอลืจึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนในสังคมและเยาวชนของประเทศ ดันั้นผุ้วิจัยจึงสนใจใช้โปรแกรมเสริมสรร้างทักษะสังคมในวัยเด็กประถมศึกษาเพือเพิ่มความรู้ ความสามารถ ในการใช้ชีวิตประจำวัน ความสามารถความชำนาญในการประคับประคองชีวิตให้อยุ่ในสังคมปัจจบุนอย่างปกติสุข ซึ่งทักษะเหล่านี้คือการเรียนรู้มทักษะผ่านต้นแบบ สถานการณืจำลอง และบทบาทสมมติการสร้างพฤติกรรมเป้าหมาย ภายใด้กิจกรรมและสถานการณ์ที่หลดาหลาย การเรียนร้ประสบการณืการแสดงพฤติกรรมการตอบสนองในเชิงบวก การพัฒนาความสามารถควบคุมตอนเองได้ (Self Control) การเสริมทักษะการสื่อสสร และทักษาะการแก้ปัญหา เพื่อนำมาใช้พัฒนาพฤติกรรมในการป้องกันการดื่มเครืองดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกาตอยปลายให้เกิดความรู้ การรับรู้ประโยชน์ของการไม่ดื่มเครืองดื่มแอลกอฮอล์ ความตั้งใจ และการปฏิบัตตัวในการป้องกันการดอื่มเครือ่งดื่มแอลกอฮอล์ที่ถูกต้องและคิดที่จะไม่ดื่มเครืองดื่มแอลกอฮอล์และนำไปปรับเหลี่ยนพฤติกรรมเพื่อที่จะสามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ต่อไป
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการดิมแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุพรรณบุรี2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียน ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างทักษะชีวิต ในเรื่องความตระหนักในตนเอง ความรับผิดชอบในตนเองทักษะการตัดสินใจไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทักษะการปฏิเสธโดยไม่เสียสัมพันธภาพ ทักษะการจัดการกับความเครียดและพฤติกรรมการป้องกันการดิ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ความตระหนักในตนเอง ความรับผิดชอบในตนเองทักษะการตัดสินใจไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทักษะการปฏิเสธโดยไม่เสียสัมพันธภาพ ทักษะการจัดการกับความเครียดและพฤติกรรมการป้องกันการดิ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชายและหญิง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุพรรณบุรี ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานกองการศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 2 แห่ง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีบริบทภายนอกใกล้เคียงกันมากที่สุด ระยะเวลาที่ศึกษาระหว่างเดือน มิถุนายน-สิงหาคม 2554
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ได้โปรแกรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ สามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับนักเรียนกลุ่มอื่นๆ ต่อไป2. เป็นแนวทางให้กับสถานศึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยการสอดแทรกทักษะชีวิตเพื่อป้องกันพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในโรงเรียน3. เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและควบคุมปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพในกลุ่มวับรุ่น เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาความรุนแรง ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาเพศสัมพันธ์ให้กับหน่วยงานสาธารณสุขและสถาบันการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    บทคัดย่อ
    การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสิรมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการดื่มเครืองดื่มแอลกอฮอ,ในนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6

ในเขต จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง 95 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 41 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 54 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะเพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประกอบด้วยความตระหนักในตนเองเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ความความรับผิดชอบในตนเองเพื่อป้องกัน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทักษะการตัดสินใจเพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทักษะการ ปฎิเสธโดยไม่เสียสัมพันธภาพ ทักษะการจัดการกับความเครียด และพฤติกรรมการปองกับการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการจัดกิจกรรมจำนวน 5 ครั้ง กลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะชีวิต การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent t-test เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มด้วย สถิติ Pair t-test กำหนดค่าแตกต่างค่าแตกต่างนัยสำคัญที่ระดับ .05

ผลการศึกษาพบว่าหลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยของความตระหนักในตนเอง เกี่ยวกับการ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และความรับผิดชอบในตนเองเพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทักษะการจัดการกับความเครียด ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีความแตกต่างกัน นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนทักษะการตัดสินใจเพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทักษะการปฏิเสธโดยไม่เสียส้มพันธภาพ และพฤติกรรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกัน

จากผลการวิจัยพบว่าโปรแกรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

นักเรียน มีผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนมากขึ้น

คำสำคัญ: โปรแกรมทักษะชีวิต การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นักเรียนประถมศึกษาปี 6 การวิจัยกึ่งทดลอง

The effective of Life Skills program on behavior modification for alcohol drinking prevention among primary school students levels 6, Suphanburi

Jaruwan Sanongyard, Sirithida Sripitak ,Yukon Maungchang,Wilawan Dhanawan

ABSTRACT

The purpose of this quasi-experimental research was to study the effectiveness of Life Skill Development program on behavior modification of alcohol drinking prevention among primary school students level 6, Suphanburi. The samples were 95 students and divided to experimental group 41 students and comparison group 54 students. The experimental group was received activities that applied from life skills program which included 5 session but the comparison group was not received life skills program. The data were collected by questionnaires the statistical methods used for data analysis were percentage, mean studard deviation. Comparative data between group were used by Independent t-test , and internal group by Pair t-test. The significant was set at level 0.05.

The results: the experimental group had mean score of self awareness was higher than comparison group significantly at level .01, the experimental group had mean score of self responsibility and decision making were higher than comparison group significantly at level .05.

The finding showed that a life skills program enabled the students to have mea score higher than comparison group.

Key word: Life Skills program, alcohol drinking, primary school students level 6, quasi-experimental study

 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2554
ปีการศึกษา : 2555
ปีงบประมาณ : 2555
วันที่เริ่ม : 11 มิ.ย. 2554    วันที่แล้วเสร็จ : 11 มิ.ย. 2555
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 36,270.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 36,270.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
       ดาวน์โหลดไฟล์ ขอ้มูลวิจัยอ.แม็ก.docx
ทั้งหมด 1 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6