เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: ความเครียด การปรับตัว และความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
นาง ปวิดา  โพธิ์ทอง หัวหน้าวิจัย
นางสาว สุพัตรา  จันทร์สุวรรณ ผู้ร่วมวิจัย
นาง สุนทรี  ขะชาตย์ ผู้ร่วมวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : การพยาบาลจิตเวช
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   

การศึกษานับเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การจัดการศึกษามีเป้าหมายพัฒนาบุคคลในลักษณะบูรณาการ คือ มีความสมบูรณ์ครบทุกด้าน เดิมเคยเชื่อกันว่าความสามารถทางเชาวน์ปัญญาหรือไอคิว (intelligence quotient; IQ) คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จ มีชีวิตที่ดี และมีความสุข (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2543) ผู้ที่มีความสามารถทางเชาวน์ปัญญาสูงไม่ได้เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าจะเป็นผู้มีความสุขหรือประสบความสำเร็จ แต่ในทางตรงกันข้าม หากมีความฉลาดทางอารมณ์ (emotional intelligence) ควบคู่ไปด้วยก็จะทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากขึ้น อีกทั้งในสภาพสังคมปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการปรับตัวเป็นอย่างมาก ความสามารถในการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเองย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถทำให้ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข การรู้จักควบคุม จัดการ และการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม เป็นความสามารถของบุคคลในการตระหนักรู้ความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการชี้นำความคิดและการกระทำของตนเองได้ ความฉลาดทางอารมณ์เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดและการปรับตัวของบุคคล อีกทั้งยังเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้บุคคลสามารถดำเนินชีวิตไม่ว่าจะเป็นชีวิตส่วนตัว ครอบครัว การทำงาน การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และประสบความสำเร็จ (Salovey & Mayer, 1990) ผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ย่อมเป็นผู้มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสมอันทำให้ตนเองและผู้อื่นรู้สึกเป็นสุข จะเห็นได้ว่าถ้าผู้ใดสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้ดีจะทำให้บุคคลนั้นมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถจัดการกับความเครียด ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่กดดันเพียงใด

ความเครียดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะในสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในบางครั้งไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ และต้องพยายามปรับตัวให้ได้ ความเครียดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ เมื่อบุคคลเกิดความเครียดย่อมส่งผลกระทบอย่างมากทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ต้องพยายามปรับตัวเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ และเมื่อไม่สามารถปรับตัวได้ย่อมส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า มีผลต่อการเรียน การทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน เมื่อกล่าวถึงความเครียดตามหลักจิตวิทยาแล้วจะเห็นว่า ความเครียดเป็นสภาวะทางกายและใจของบุคคลที่ขาดความสมดุล จนทำให้เกิดความกดดันทางอารมณ์ ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจหรือไม่สบายใจ จนเป็นเหตุให้เกิดอาการแปรปรวน และแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมต่างๆ ทั้งที่สังเกตเห็นได้และสังเกตเห็นไม่ได้ จากการสำรวจความเครียดของประชากรในประเทศไทยโดยกรมสุขภาพจิต เมื่อปีพ.ศ. 2553 พบว่าคนไทยมีความเครียดร้อยละ 16.3 (วรวรรณ จุฑา และคณะ, 2554)

นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 เริ่มเข้าสู่วิชาชีพการพยาบาล ซึ่งลักษณะวิชาที่เรียนมีความเฉพาะ อีกทั้งคุณลักษณะของบัณฑิตพยาบาลที่นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถเชิงวิชาชีพแล้ว พยาบาลยังต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ มีความมั่นคงทางอารมณ์ รู้จักและเข้าใจตนเอง ซึ่งนำไปสู่การรู้จักและเข้าใจผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความอดทนอดกลั้น ตลอดจนสามารถเผชิญกับความเครียด สามารถปรับตัวและจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม (สุพัตรา พุ่มพวง และสุนทรี ขะชาตย์, 2549) ในการจัดการกับภาวะต่างๆ นั้น ส่วนหนึ่งต้องอาศัยความฉลาดทางอารมณ์ ในขณะที่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ซึ่งมีอายุ อยู่ในช่วง 18-20 ปี เป็นวัยที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อหรือวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เริ่มมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เป็นวัยที่ประสบปัญหาในการปรับตัวมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการเรียนในระดับอุดมศึกษา สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และยังต้องมีการพัฒนาตนเองในหลายด้านเพื่อให้มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ซึ่งนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 นั้นต้องเผชิญกับ ความเปลี่ยนแปลงในชีวิตทั้งการเปลี่ยนที่เรียน การต้องแยกจากครอบครัวมาอยู่หอพัก และการรับผิดชอบชีวิตส่วนตัวในการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนใหม่ๆ ในสังคม อีกทั้งพัฒนาการตามวั และความขัดแย้งในจิตใจของวัยรุ่นที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อาจมีผลกระทบต่อการเรียน การงาน หรือด้านสังคม ในกรณีที่ปัญหารุนแรงอาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการปรับตัว ซึ่งพบได้ร้อยละ 10-15 (สุนทรี ขะชาตย์, สุพัตรา พุ่มพวง และศศิวิมล วรรณทอง, 2551) บุคคลที่มีปัญหาการปรับตัวจะมีอาการวิตกกังวล กลุ้มใจ ท้อแท้ รับประทานอาหารไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือมีอาการแสดงออกมาทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง หรือมีอารมณ์ฉุนเฉียว วู่วาม ก้าวร้าว ต่อต้าน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด และทำให้บุคคลต้องมีการปรับตัวอย่างมาก โดยเฉพาะนักศึกษาพยาบาลที่พบว่าต้องมีการปรับตัวมากกว่าปกติเมื่อเทียบกับบุคคลวัยเดียวกัน ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาความเครียด การปรับตัว และความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านสติปัญญาควบคู่กับความฉลาดทางอารมณ์ ส่งเสริมการปรับตัว และลดความเครียดของนักศึกษาพยาบาลต่อไป


     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
   

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อศึกษาระดับความเครียด การปรับตัว และความฉลาดทางอารมณ์ ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด และการปรับตัว กับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

    ขอบเขตของโครงการผลงาน
   

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive study) เพื่อศึกษา ความเครียด การปรับตัว และ ความฉลาดทางอารมณ์ศึกษา ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2553

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
   

1. เป็นแนวทางส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาล พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ส่งเสริมการปรับตัว

ที่เหมาะสม การจัดการกับความเครียด เพื่อป้องกันและลดปัญหาด้านสุขภาพจิตที่เกิดขึ้น

2. เพื่อเป็นประโยชน์ในการที่คณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาจะนำผลของการศึกษาที่ได้ไปจัดกิจกรรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ ส่งเสริมการปรับตัว ลดระดับความเครียดและ แนะแนวทางในการจัดการความเครียดอย่างถูกวิธีให้เหมาะสมแก่นักศึกษาพยาบาล

    บทคัดย่อ
   

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด การปรับตัว ความฉลาดทางอารมณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด การปรับตัว กับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี จำนวน 97 คน เก็บรวบรวบข้อมูลในเดือนกันยายน 2553 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความเครียดสวนปรุงของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แบบประเมินการปรับตัว และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยมีดังนี้

1. นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดอยู่ในระดับเครียดสูง คิดเป็นร้อยละ 50.50 รองลงมาคือ ระดับเครียดปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 38.10 และระดับเครียดรุนแรง คิดเป็นร้อยละ 11.40

2. นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนการปรับตัวอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 67.00 รองลงมาคือ ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 19.60 และระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 13.40

3. นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับปกติ คิดเป็นร้อยละ 53.60 เมื่อพิจารณาความฉลาดทางอารมณ์เป็นรายด้าน ซึ่งประกอบด้วยด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข พบว่านักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่มีความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ คิดเป็น ร้อยละ 58.80 ความฉลาดทางอารมณ์ด้านเก่งอยู่ในระดับปกติ คิดเป็นร้อยละ 64.90 และความฉลาดทางอารมณ์ด้านสุขอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ คิดเป็นร้อยละ 52.60

4. ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.365, p < .01) ส่วนการปรับตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความฉลาดทางอารมณ์ ของนักศึกษาพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .639, p < .01)

คำสำคัญ : ความเครียด การปรับตัว ความฉลาดทางอารมณ์ นักศึกษาพยาบาล

* พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

** พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

Abstract

The purposes of this research were to study level of stress, adaptation, emotional intelligence, and correlations between level of stress, adaptation, and emotional intelligence in first-year nursing students. The subjects were 97 first-year nursing students, Boromarajonani College of Nursing, Suphanburi. The data were collected in September 2010 by using a questionnaire assessing demographic data, Suanprung Stress Test developed by the Mental Health Department, Ministry of Public Health, a questionnaire assessing adaptation, and Thai Emotional Intelligence Screening Test. Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s correlation coefficient.

The results of the study were as follows:

1. For the level of stress, 50.5% of nursing students were at the high level, 38.1% were at the moderate level, and 11.4% were at the severe level.

2. Regarding self-adaptation, most nursing students which accounted 67.0% were at the level of good self-adaptation abilities, 19.6% of them were at the level of moderate self-adaptation abilities, and 13.4% were at the level of very good self-adaptation abilities.

3. Concerning emotional intelligence, most nursing students which accounted 53.6% were at a normal level. For each category, it was found that 58.8% of the nursing students showed a higher score than the average in terms of goodness category, 64.9% of the nursing students showed normal average score in terms of smartness category, and 52.6% of the nursing students showed higher score than the average in terms of happiness category.

4. Among these students, it was also found that the emotional intelligence was significantly inverse related to score of stress (r = -.365, p < .01). In addition, the result showed that adaptation was significantly positive related to emotional intelligence (r = .639, p < .01).

Keywords : Stress, Adaptation, Emotional intelligence, Nursing students

ดาว์โหลดไฟล์บทคัดย่อ :  ดาวน์โหลดไฟล์ รายงานการวิจัยอีคิวส่งโรงพิมพ์.doc
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2553
ปีการศึกษา : 2553
ปีงบประมาณ : 2554
วันที่เริ่ม : 23 ต.ค. 2553    วันที่แล้วเสร็จ : 20 เม.ย. 2554
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 34,400.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 34,400.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
       ดาวน์โหลดไฟล์ รายงานการวิจัยอีคิว.pdf
ทั้งหมด 1 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6