เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขในการทำงานของอาจารย์วิทยาลับพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
นางสาว ลักขณา  ศิรถิรกุล หัวหน้าวิจัย
นางสาว วาสนา  อูปป้อ ผู้ร่วมวิจัย
ร.อ.หญิง จรูญลักษณ์  ป้องเจริญ ผู้ร่วมวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : พื้นฐานทางการพยาบาลและการพัฒนาวิชาชีพ
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศ สังคมเน้นวัตถุนิยม หรือพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว โดยที่การวัดระดับการพัฒนาของประเทศที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ได้สัมพันธ์กับการที่คนไทยในสังคมจะมี “ความสุข” เพิ่มขึ้น และผลจากที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องทำให้วิถีชีวิตของคนในประเทศเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบดั้งเดิมสู่สังคมที่ต้องดำรงชีวิตอยู่ด้วยการแข่งขันมากขึ้นทำให้เกิดความเครียดและความสุขในชีวิตลดลงจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ (๒๕๕๐-๒๕๕๔) ที่สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ มีพื้นฐานจาการเสริมสร้างทุนของประเทศให้เข้มแข็งย่างต่อเนื่องในระยะยาว และยึด “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” เพื่อมุ่งสู่ “สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน” โดยมุ่งเน้นการวางรากฐานการพัฒนาคนให้มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่ากันพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศครอบคลุมการพัฒนาคนใน ๓ เรื่องที่สำคัญ คือ ๑) การพัฒนาคนในประเทศมีความรู้คู่คุณธรรม ๒) การเสริมสร้างสุขภาวะคนไทยให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจที่ดีมีความสัมพันธ์ทางสังคมและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ ๓) การเสริมสร้างคนไทยให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาให้เป็นสังคมของความพอเพียง เป็นธรรม และเป็นไทยนำไปสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน ความสุขเป็นสิ่งสำคัญหรือเป็นรากฐานของการดำรงชีวิต เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ความสุขในตนเอง ความสุขในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ความสุขในการเรียน และความสุขในการทำงาน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ความสุขในการทำงานเป็นองค์ประกอบสำคัญของการมีชีวิตที่เป็นสุข ตามแนวคิดดายเนอร์ (Diener, ๒๐๐๐) ได้อธิบายถึงปัจจัยหรือองค์ประกอบของความสุขว่า ความสุขเป็นสิ่งสำคัญหรือเป็นรากฐานของการดำรงชีวิต เป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ดีที่ใช้ประเมินความเป็นอยู่หรือเป้าหมายหลักของชีวิต และองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการตอบสนองของบุคคล ที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในชีวิต (Life satisfaction) ความพึงพอใจในงาน (Work satisfaction) อารมณ์ทางด้านบวก และอารมณ์ทางด้านลบต่อการทำงาน นอกจากนี้แล้วยังมีแนวคิดความสุข (Joy at work) ของแมเนียน (Manion, ๒๐๐๓) ที่ได้กล่าวว่า ความสุขคือผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำที่สร้างสรรค์ของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้บุคลากรมีความผูกพันและปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความพอใจ ประกอบด้วย ๔ องค์ประกอบคือ การติดต่อสัมพันธ์ ความรักในงาน ความสำเร็จในงานและการเป็นที่ยอมรับ ความสุขในการทำงาน เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของบุคคล ที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการทำงาน หรือประสบการณ์ของบุคคลในการทำงาน ทำให้เกิดความรู้สึกทางบวก เป็นความรู้สึกชื่นชอบหรือเป็นสุขจากงานที่ได้ทำ ซึ่งมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ ๑) ความเพลิดเพลินในการทำงาน (Pleasure) เป็นความรู้สึกของบุคคลในขณะทำงาน เกิดความรู้สึกชอบใจ พอใจ และยินดีในการปฏิบัติงานของตน ๒) ความกระตือรือร้นในการทำงาน (enthusiasm) เป็นความรู้สึกของบุคคลในขณะทำงาน มีความตื่นตัว ชีวิตชีวาในการทำงาน และ ๓) ความสบายใจในการทำงาน (comfort) เป็นความรู้สึกของบุคคลในขณะทำงาน เกิดความรู้สึกสบายใจกับการทำงาน และรู้สึกว่าทำงานด้วยความราบรื่น ไม่มีความรู้สึกเครียด หรือวิตกกังวลใดๆ ในการทำงาน (Warr, ๒๐๐๗) การมีความสุขกับการทำงานเป็นผลดีต่อบุคคลคือ เป็นแรงจูงใจให้เกิดความท้าทายที่จะปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ ภาคภูมิใจต่อผลงาน (ณรงค์ หลักกำจร, ๒๕๔๘) ผลงานมีคุณภาพ ลดความเครียดส่งผลให้สุขภาพดี รวมทั้งองค์การได้ผลงานที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Manion, ๒๐๐๓) ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือลดการลาออก และลดการขาดงาน ส่วนคนที่ไม่มีความสุขในการทำงานมีพฤติกรรมการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำงานช้ากว่าปกติ เนื่องจากความสามารถในการทำงานให้สำเร็จลดลง มักจะหลีกเลี่ยงการทำงาน ไม่ให้ความสนใจหรือไม่ให้ความร่วมมือในการทำงานใดๆ (The Kert Center for Human and Organization, ๒๐๐๖) เป็นผลเสียต่อองค์กรคือ พนักงานลากิจ ลาป่วย มาสาย หรือขาดงานเป็นประจำ หน่วยงาน ได้ผลผลิตต่ำ ด้วยเหตุนี้ความสุขในการทำงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารทุกคนพึงเสริมสร้างให้บุคลากรในหน่วยงานของคนมีความสุขในการทำงานการที่จะพัฒนาให้องค์กรประสบความสำเร็จได้จะต้องประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ในด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับที่ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติงานควรจะต้องทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งความสุขในการทำงานจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อพนักงานมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดี และในปี ๑๙๗๔ ได้มีการก่อตั้งสมาพันธ์ The National Center for Productivity and Quality of Working Life เป็นองค์การที่ให้การสนับสนุนการศึกษาและกิจกรรม เพื่อการปรับปรุงผลผลิตและการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานโดยตรง (Gordon, ๑๙๙๑ p. ๖๓๕ อ้างถึงใน ทิพวรรณ ศิริคูณ, ๒๕๔๒) ความสนใจในคุณภาพชีวิตการทำงานในองค์กรได้รับความสนในทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นมิติใหม่สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิตการทำงานมีผลต่อการทำงานมากมาย ได้แก่ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่องาน ต่อองค์กร นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต ช่วยให้เจริญก้าวหน้า มีการพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพขององค์กรและยังช่วยลดปัญหาการขาดงาน การลาออก การลดอุบัติเหตุ และส่งเสริมให้ได้ผลผลิตและการบริการที่ดีทั้ง ๒ คุณภาพและปริมาณ (Hackman & Suttle, ๑๙๘๗ อ้างถึงใน นฤดล มีเพียร, ๒๕๔๑) คนเราใช้เวลาของชีวิตในการทำงานอันเป็นเวลาส่วนมากของชีวิตโดยได้อยู่กับสิ่งที่ตนพอใจก็จะช่วยให้มีสภาพจิตใจและอารมณ์ที่จะส่งเสริมให้เกิดสภาพการทำงานที่ดีจะส่งผลต่อชีวิตโดยรวมของบุคคลผู้นั้นให้เป็นสุข ซึ่งแสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอันเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาประเทศ (ผจญ เฉลิมสาร,๒๕๔๐) คุณภาพชีวิตการทำงานเป็นความรู้สึกสุขใจ พึงพอใจในการทำงานและรู้สึกว่าการทำงานทำให้ชีวิตมีคุณค่า ถ้าคุณภาพชีวิตการทำงานต่ำย่อมส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพงานและศักยภาพของบุคลากรไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และคุณภาพชีวิตการทำงานยังส่งผลทำให้บุคลากรมีความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร (นิยม สี่สุวรรณ. ๒๕๔๔) การศึกษาของความพึงพอใจระหว่างพนักงานและองค์การ เพื่อให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุด และจากการศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์พยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก พบว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์พยาบาล จำเป็นต้องให้โอกาสและสนับสนุนให้อาจารย์ได้ทำงานที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ การมีระบบการประเมินที่ยุติธรรม สามารถตรวจสอบได้และเสริมสร้างบรรยากาศการทำงานในองค์การ และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการสอนและพัฒนาวิชาการ รวมถึงพัฒนาสวัสดิการและผลตอบแทน (สุนทรา โตบัว, ๒๕๔๙)คุณภาพชีวิตในการทำงานเป็นปัจจัยสำคัญย่างหนึ่งในการทำงาน ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรและทำให้พนักงานพึงพอใจในการทำงาน การที่องค์กรมีผลการปฏิบัติงานที่ดีนั้นต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในการทำงานของบุคคลที่ปฏิบัติงานนั้นๆ ถ้าผู้ปฏิบัติงานรู้สึกว่าตนเองมีความปลอดภัยและพอใจงานแล้ว ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานให้เจริญก้าวหน้าและสามารถพัฒนาตนเองตามที่ตนเองต้องการ หรือถ้าผู้ปฏิบัติงานมีความพอใจต่อองค์กรก็สามารถทำงานได้เป็นผลสำเร็จ (Lawler, 1990)วิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข มีพันธกิจที่สำคัญ คือ การผลิตกำลังคนที่ให้บริการสาธารณสุขควบคู่กับการแสวงหาความรู้ ในการสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชน การผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพ เป็นนักวิชาชีพเพื่อสนองความต้องการของระบบริการสาธารณสุขเพื่อสนองความต้องการของระบบบริการสาธารณสุข บุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญที่สุดคืออาจารย์ ซึ่งอาจารย์มีภารกิจตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา คือ ๑) จัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตพยาบาลศาสตร์ ๒) ศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ๓) ให้บริการวิชาการแก่สังคม ๔) ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี. ๒๕๕๓) แต่เนื่องจากนโยบายการสร้างสภาวะสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุขแนวใหม่ นโยบายปฏิรูประบบราชการรวมทั่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ ในมาตรา ๘๒ ที่บัญญัติให้รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ มีผลกระทบต่อภารกิจการจัดการศึกษาของพยาบาลเพื่อผลิตบัณฑิตเข้าสู่ระบบบริการ ทำให้สถาบันอุดมศึกษาต้องในการบริการวิชาการ การบริหารบุคคลและบริหารทรัพยากรเพื่อผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความคาดหวังของสังคม อีกทั้งอาจารย์ของวิทยาลัยยังมีบทบาทหน้าที่หลากหลาย ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล และสภาพการณ์ที่หลากหลายทั้งในและนอกหน่วยงาน ประกอบกับความเครียดจากการปรับเปลี่ยนลักษณะการทำงานจากนโยบายการบริหารราชการภาครัฐแนวใหม่ที่ประเมินการปฏิบัติงานของข้าราชการปีละครั้งมาเป็นปีละสองครั้ง และประเมินผลงานจากสมรรถนะการทำงาน ส่งผลให้อาจารย์พยาบาลมีภาระงานที่เพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้อาจารย์พยาบาลต้องปรับตัวกับภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไปและมากขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้เกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสุขในการทำงาน ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    ๑. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและระดับความสุขในการทำงานของอาจารย์พยาบาลวิทยาลัย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข๒. เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและระดับความสุขในการทำงานของอาจารย์พยาบาลวิทยาลัยที่มี อายุ สถานภาพสมรถ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวนแผนกที่ฝึกนิเทศนักศึกษา จำนวนวันในการฝึก/สัปดาห์ ต่างกัน ๓. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความสุขในการทำงานของอาจารย์พยาบาลวิทยาลัย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ศึกษาอาจารย์พยาบาลที่ปฏิบัติงานการสอนในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข อย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือนขึ้นไป
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    ๑. ได้ทราบระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและระดับความสุขในการทำงานของอาจารย์พยาบาลวิทยาลัย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข๒. ได้ทราบเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและระดับความสุขในการทำงานของอาจารย์พยาบาลวิทยาลัยที่มี อายุ สถานภาพสมรถ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวนแผนกที่ฝึกนิเทศนักศึกษา จำนวนวันในการฝึก/สัปดาห์ ต่างกัน ๓. ได้ทราบความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความสุขในการทำงานของอาจารย์พยาบาลวิทยาลัย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
    บทคัดย่อ
   

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขในการทำงานเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขในการทำงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และหาความ สัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขในการทำงานของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์พยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 152 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบวัดคุณภาพชีวิตในการทำงานและแบบวัดความสุขในการทำงาน แบบสอบถามทั้งหมด ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขในการทำงานได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ .81 และ .95 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test , F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. โดยภาพรวมคุณภาพชีวิตในการทำงานของของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวง

สาธารณสุข อยู่ในระดับสูง ( =3.85, S.D. =.565) และภาพรวมความสุขในการทำงานของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาล อยู่ในระดับสูง ( =4.20, S.D. =.512)

2. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตในการทำงานจำแนกตามอายุ พบว่า ด้าน

ผลตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) จำแนกตามระดับการศึกษาพบว่า ด้านผลตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมและด้านสังคมสัมพันธ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) จำแนกตามระยะเวลาในการทำงานในวิทยาลัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

(p <.05) จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05)

3. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความสุขในการทำงานจำแนกตาม อายุ สถานภาพสมรถ

ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ทำงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวนแผนกที่ฝึกนิเทศนักศึกษา จำนวนวันในการฝึก/สัปดาห์ ไม่แตกต่างกัน

4. ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความสุขในการทำงาน พบว่า คุณภาพชีวิตในการ

ทำงานมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความสุขในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01) โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง (r = .763)

คำสำคัญ : คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความสุขในการทำงาน

*พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ

**พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

***พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

This study aimed to examine the quality of work life, happiness at work and the relationships between the quality of work life and happiness at work of nursing instructors in colleges of nursing, Praboromarajchanok Institute. Participants consisted of 152 nurse instructors selected by the multi-stage sampling method. Methods: this descriptive research By A variety of instruments included demographic data sheet, the Quality of work life (TQA) and the Happiness at work (THA) Questionnaires. All instruments were examined for content validity and reliability. The internal reliability of Quality of work life (TQA) and the Happiness at work (THA) were .81 and .95, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, t-test, one-way ANOVA, LSD and Pearson’s product moment correlation coefficients.

The results of this as follow:

1. The mean scores of quality of work life as a nurse instructors in colleges of

nursing were at a high level ( =3.85, S.D. =.565) For happiness at work as a nursing instructors in colleges of nursing was at a high level ( =4.20, S.D. =.512).

2. In comparing of personal factors and quality of work life by age, level of

education, the length of work and by average monthly income, there were statistically significant difference (p <.05) in the aspect of adequate and fair compensation .In classification by level of education there was statistically significant difference (p <.05) in aspects of adequate and fair compensation and social integration.

3. In comparison of personal factors to happiness at work .There were no

difference.

4. Relationship of quality of work life and happiness at work found that there

were statistically significant difference (p <.05) between quality of work life in the positive and happiness at work related at high level (r = .763).

Keywords : QUALITY OF WORK LIFE, HAPPINESS AT WORK

ดาว์โหลดไฟล์บทคัดย่อ :  ดาวน์โหลดไฟล์ 20120915133924.pdf
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2554
ปีการศึกษา : 2554
ปีงบประมาณ : 2555
วันที่เริ่ม : 20 เม.ย. 2554    วันที่แล้วเสร็จ : 28 มี.ค. 2555
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 32,340.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 32,340.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
       ดาวน์โหลดไฟล์ บทคัดย่อ-รวม สารบัญ.pdf
ทั้งหมด 1 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6