เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: ปัจจัยทำนายการออกกำลังกายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
นางสาว สุภาภรณ์  วรอรุณ หัวหน้าวิจัย
นางสาว อุมากร  ใจยั่งยืน ผู้ร่วมวิจัย
นาย อาคม  โพธิ์สุวรรณ ผู้ร่วมวิจัย
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   หลักการและเหตุผลองค์การอนามัยโลกมีนโยบายที่ต้องการให้ประเทศสมาชิกปรับกระบวนการแก้ปัญหาสาธารณสุขด้วยการเสริมบทบาทด้านการส่งเสริมสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกายกระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดและส่งเสริมให้ประชาชนได้มีการออกกำลังกายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550 - 2554 (แผนพัฒนาฯฉบับที่ 10, 2550)1อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) เป็นองค์กรชุมชนกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agents) ด้านพฤติกรรมสุขภาพอนามัยแก่ตนเองและชุมชนจึงสมควรเป็นแบบอย่างการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย ซึ่งพฤติกรรมการออกกำลังกายสามารถช่วยป้องกันโรคเรื้อรังได้แก่เบาหวานความดันโลหิตสูงหัวใจเป็นต้น ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านพฤติกรรมการออกกำลังกายของอสม.ตำบลสนามชัยอำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน120 คนพบว่า อสม .ไม่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายถึงร้อยละ 90 และในกลุ่มที่ออกกำลังกายร้อยละ 10 พบว่ามีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้องตามหลักการออกกำลังกายของ ACSM (ACSM, 1998)2 (ข้อมูลสุขภาพสถานีอนามัยตำบลสนามชัย, 2550)3 โดยตำบลดังกล่าวเป็นแหล่งที่ตั้งของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรีที่เป็นสถานศึกษาผลิตบุคคลากรด้านสุขภาพแต่ยังพบว่าอสม. มีพฤติกรรมการออกกำลังกายจำนวนที่ต่ำมากและไม่ถูกต้องอีกทั้งยังไม่มีผู้ใดทำการศึกษาประเด็นดังกล่าวในพื้นที่นี้ผู้วิจัยจึงนำกรอบแนวคิดด้านการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (Pender, 1996)4 มาใช้ในการศึกษาโดยนำตัวแปรที่คัดสรรแล้วว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายมากที่สุดมาทำการหาความสัมพันธ์โดยจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องพบว่าจากการศึกษาวิจัยในกลุ่มของผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ต่อการออกกำลังกายการรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ .001 (Obesity Community, 2008)5 การรับรู้ประโยชน์ต่อการออกกำลังกายการรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกายมีอิทธิพลต่อการออกกำลังกายของนักศึกษา(สุภาภรณ์ วรอรุณ, 2548)9 อายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของพยาบาลวิชาชีพ (มนัสวี เจริญเกษมวิทย์, 2546)7 ซึ่งสอดคล้องกับเพนเดอร์ที่กล่าวว่าอายุเป็นองค์ประกอบด้านชีวภาพของบุคคลที่จะอธิบายหรือทำนายพฤติกรรมเป้าหมาย (Pender, 1996)4 ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออกกำลังกายของอสม.โดยทบทวนวรรณกรรมและคัดสรรตัวแปรที่มีความสัมพันธ์สูงสุดมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ตัวแปรในด้านปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่เพศและอายุตัวแปรด้านการรับรู้ได้แก่การรับรู้ประโยชน์ต่อออกกำลังกายและการรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกายกับการออกกำลังกายของอสม.เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้รับมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ อสม. มีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อเนื่องต่อไป
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    ศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคลการรับรู้ประโยชน์ต่อการออกกำลังกายการรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกายกับการออกกำลังกายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลสนามชัยอำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรีจำนวนทั้งหมด 121 คน
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    ในการวิจัยครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ที่สำคัญ คือ1. ได้ข้อมูลในการส่งเสริมให้ อสม. มีการออกกำลังกายที่เหมาะสม2. ได้รับแนวทางในการศึกษาวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายในกลุ่มอื่นๆ
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : จากผลการวิจัยพบว่าการรับรู้ประโยชน์ต่อการออกกำลังกายการรับรู้ว่ามีอุปสรรคต่อการออกกำลังกายมีอิทธิพลต่อการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นดังนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่า อสม. ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agents) ด้านพฤติกรรมสุขภาพอนามัยแก่ตนเองและประชาชนในพื้นที่การที่ อสม.เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพย่อมมีผลต่อพฤติกรรมของประชาชนที่จะประพฤติปฏิบัติตามดังนั้นหน่วยงานและบุคลากร ด้านสาธารณสุขควรสนับสนุนให้อสม.ได้มีการรับรู้ประโยชน์ต่อการออกกำลังกายสามารถประเมินค่าถึงอุปสรรคต่อการปฏิบัติการออกกำลังกายของตนเองได้ โดยการจัดกิจกรรมการอบรมให้ความรู้สู่การออกกำลังกายที่ถูกต้องส่งเสริมให้มี การจัดตั้งกลุ่มแกนนำ อสม. ด้านการออกกำลังกายโดยตรง โดยมีบทบาทในการเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนในแต่ละหมู่บ้านเป็นต้นแบบที่ดีด้านการออกกำลังกาย และชักชวนให้ประชาชนทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม อันจะนำไปสู่เป้าหมายที่สูงสุดคือ "พฤติกรรมการออกกำลังกายที่มีความถูกต้องเหมาะสม และมีความยั่งยืน" ต่อไป
    บทคัดย่อ
    บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์อำนาจการทำนายการออกกำลังกายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (Pender, 1996) เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด จำนวน 121 คน เลือกใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยสหสัมพันธ์ (Multiple regression analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุและเพศ ไม่สามารถทำนายการออกกำลังกายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ได้ ในขณะเดียวกันพบว่า ปัจจัยการทำนายด้านการรับรู้ประโยชน์ต่อการออกกำลังกาย และการรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกาย สามารถอธิบายการผันแปรของพฤติกรรมการออกกำลังกายได้ร้อยละ 60.60 (Adjust R2 = .606) อย่างน้อยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
ดังนั้นผู้วิจัยจึงสรุปได้ว่าปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ต่อการออกกำลังกาย ร่วมด้วยปัจจัยการรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกาย เป็นตัวแปรที่ดีที่สุดต่อการทำนายการออกกำลังกายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)
จากผลการวิจัยจึงมีข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้
ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ต่อการออกกำลังกาย การรับรู้อุปสรรคต่อ
การออกกำลังกาย และนำผลการวิจัยดังกล่าวมาจัดทำโปรแกรมการเสริมสร้างการออกกำลังกายในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อให้เกิดการแก้ไขที่เป็นรูปธรรมต่อไป
คำสำคัญ : การรับรู้ประโยชน์การรับรู้อุปสรรคปัจจัยส่วนบุคคลการออกกำลังกาย
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)
This descriptive study aimed to examine the predictors of exercise behavior among health
volunteers at TambonSanamchai, Muang District, Suphanburi Province based on Pender’s Health Promotion theory. Data were gained by questionnaire from 121 health volunteers who volunteered to participate in this study. Descriptive statistics and multiple regression analysis were used to analyse the data. Results showed that personal factors such as age and gender were not the predictors of the variance in health volunteer exercise behavior. The predictor model with perceived benefits of exercise and perceived barriers of exercise was able to count for 60.60 percent of the variance of health volunteer exercise behavior (Adjust R2 = 0 .606, p< .001). The resulted pointed out that both perceived benefits of exercise and perceived barriers of exercise were the two main best predictors of exercise behaviors among these health volunteers. The findings suggested that any exercise programs intervention for this health care volunteer should consider the account of perceived benefits of exercise and the perceived barriers of exercise behavior factors.
Keywords :Perceived benefits, Perceived barriers, Personal factor, Exercise behavior, Health Volunteers
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน :
ปีการศึกษา : 2553
ปีงบประมาณ : 2553
วันที่เริ่ม : 2 ต.ค. 2009    วันที่แล้วเสร็จ : 2 ก.ย. 2010
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 40,000.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 40,000.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6