เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: การศึกษา “ปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทางแก้ไข และความต้องการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพตามการรับรู้ของวัยรุ่น และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี”
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
นางสาว สุภาภรณ์  วรอรุณ หัวหน้าวิจัย
นางสาว สุพัตรา  จันทร์สุวรรณ ผู้ร่วมวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : การพยาบาลอนามัยชุมชนและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   สถานการณ์การแก้ปัญหาสาธารณสุขในปัจจุบัน ได้มีการปรับทิศทางจากเดิมที่เป็นการแก้ปัญหาการเจ็บป่วยมาเป็นการมุ่งสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนด และส่งเสริมให้มุ่งเน้นในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10 พ.ศ. 2550 - 2554 (แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10, 2550) กลุ่มเด็กและวัยร่น เป็นกลุ่มของผู้ที่มีช่วงอายุที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม จากความเป็นเด็กไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ จำเป็นอย่างยิ่งที่ ต้องดูแลส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพราะเด็กในวันนี้ คือผู้ใหญ่ในวันหน้า หาก ปล่อยปละละเลยจะนำไปสู่ปัญหาการติดยายาเสพติด การถูกยั่วยุจากสิ่งต่างๆที่ปนเปื้อนจากสังคม ทั้งอบายมุข บุหรี่ เครื่องดื่มของมีนเมาทั้งปวง และโรคเอดส์ ซึ่งชุมชนจึงมีความสำคัญต่อการสร้าง วัยรุ่นที่เข้มแข็งเพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้า เด็กจะเป็นคนดี คนเก่งและมีความสุขได้นั้น ผู้ปกครอง ครู ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนและคนในชุมชน จึงจำเป็นจะต้องดูแลสนใจและเข้าใจในจิตใจของ วัยรุ่น แนะนำ ชักชวน สั่งสอน วัยรุ่นให้กระทำในสิ่งที่ดีมีคุณค่าต่อชุมชน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การศึกษา การเมือง และด้านสุขภาพเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น ใน ขณะเดียวกันก็มีปัจจัยลบหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะสารเสพติด บุหรี่และสุรา ซึ่งปัจจุบันเป็นปัญหา ใหญ่ที่คุกคามเข้ามาในกลุ่มเด็ก วัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา ของคนไทยในปัจจุบัน ซึ่งประชากรกลุ่มนี้ จะเป็นกำลังของชาติในอนาคต การรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยวัยและประสบการณ์ชีวิต ทำให้ถูกชักจูง ไปสู่ปัญหาได้ พฤติกรรมการถูกชักจูงดังกล่าวนำไปสู่การก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของตัววัยรุ่นเอง และนำไปสู่ผลเสียต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา ครอบครัว สังคม เศรษฐกิจและชุมชนเอง จากข้อมูลจากการสำรวจ ของกระทรวงสาธารณสุขประเด็นเรื่องปัญหาด้านสุขภาพวัยรุ่นไทย ในปี 2553 สำรวจวัยรุ่น 21 จังหวัดทั่วประเทศ รวมจำนวน 43,693 คน เป็นชาย 20,213 คน หญิง 23,480 คน อายุเฉลี่ย 13-17 ปีโดยพฤติกรรมที่สำรวจครั้งนี้ มุ่ง 5 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วย จากโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ การใช้สารเสพติด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การป้องกันอุบัติเหตุจราจร การ กินอาหารและการควบคุมน้ำหนักตัว การแสดงความรุนแรง และการออกกำลังกาย (กระทรวง สาธารณสุข, 2553) การศึกษาของคำแสน (Khumsaen, 2008) ที่ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศใน กลุ่มวัยรุ่นไทยอายุ 18-21 ปี จำนวน 270 คน พบว่า แนวโน้มอายุของการเริ่มมีประสบการณ์ทางเพศ ของเด็กวัยรุ่นไทยลดลงกล่าวคือร้อยละ 3ของวัยรุ่นเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุ 11 ปีโดยมี ค่าเฉลี่ยของอายุคือ 16.88 ปี ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบในส่วนปัญหาด้าน พฤติกรรมสุขภาพของวัยรุ่น ความต้องการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อที่จะได้นำข้อมูลดังกล่าวมา ทำการวิเคราะห์ สู่กระบวนการร่วมแก่ไขปัญหาร่วมกันระหว่างวัยรุ่นและชุมชน รวมทั้งเป็นการเปิด โอกาสให้วัยรุ่นได้เข้ามีส่วนร่วมดูแลและจัดการปัญหาสุขภาพของตนเองด้วยสมรรถนะของกลุ่มวัยรุ่น
เอง เปิดโอกาสให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการแกไขปัญหา นำไปสู่การวางแนวทางด้านการ สร้างเสริมสุขภาพที่มีความเหมาะสมต่อไป
พื้นที่ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี โดยมีกระบวนการทำงานด้านชุมชนร่วมกันทุกภาคส่วนที่ เกี่ยวข้อง แต่จากการประชุมร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ด้านปัญหาสุขภาพของพื้นที่ตำบล สนามชัย ณ องการบริหารส่วนตำบลสนามชัย เมื่อเดือนมีนาคม 2553 พบว่า ปัญหาด้านพฤติกรรม เสี่ยงด้านสุขภาพของกลุ่มวัยรุ่นมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยสถิติ ข้อมูลการคลอดจากมารดาที่ท้องไม่พึงประสงค์/ก่อนวัยอันควร ช่วงอายุ 11-22 ปี จาก รพ.สต. สนามชัย ปี 2551-2552 พบร้อยละ 30.30 และ 37.5 และ โดยมีแนวโน้มที่สูงขึ้น (ข้อมูลสถิติ อนามัยเจริญพันธ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามชัย, 2553) และมีปัญหาการติดยา เสพติด ปัญหาวัยรุ่นติดเกม ฯลฯ ทะเลาะวิวาท ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความกังวลแก่ ผู้ปกครอง โรงเรียนสถาบันการศึกษา ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ นอกจากปัญหาโดยตรงกับ พฤติกรรมของวัยรุ่นแล้ว ยังพบว่าการขาดการเปิดโอกาสให้เด็กและวัยรุ่นได้เข้ามีส่วนร่วมดูแลและ จัดการปัญหาสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน ขาดการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มวัยรุ่นดังกล่าว (การประชุมหน่วยงานและเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องด้านสุขภาพพื้นที่ตำบลสนามชัย, 2553) จากผลการประชุมร่วมกันของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ เห็นสมควรว่าปัญหาดังกล่าวจึงสมควรได้รับการแก่ไข แต่ พบว่าขาดข้อมูลเท็จจริงด้านสาเหตุที่มาของปัญหาดังกล่าวและความต้องการที่แท้จริงด้านสุขภาพ ของวัยรุ่น
ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาสาเหตุของที่มาของปัญหาและความต้องการด้าน การสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มวัยรุ่น พื้นที่ตำบลสนามชัย จึงทำการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ เรื่องปัญหาและความต้องการด้านการสร้างเสริมสุขภาพของวัยรุ่น ในพื้นที่ตำบลสนามชัย ตัวแทนกลุ่ม วัยรุ่นคละตามช่วงอายุ ตัวแทนผู้เกี่ยวก้องตั้งแต่ระดับนโยบาย ได้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล สนามชัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามชัย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ใกล้ชิดได้แก่ผู้ปกครอง ครู และประชาชนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเกี่ยวกับปัญหา และพฤติกรรม เสี่ยงที่มีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมหาแนวทางการแก้ไขแต่ละกลุ่ม เพื่อให้เกิดกระบวนการสะท้อนการคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจเพื่อดำเนินปฏิบัติกิจกรรมแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง รู้จักใช้ทรัพยากรที่จำเป็น ตลอดจนคงไว้ซึ่งสมรรถนะแห่งตนอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    1. เพื่อศึกษาปัญหา และความต้องการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ตามการรับรู้ของวัยรุ่น ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
2. เพื่อศึกษากระบวนการทำงานด้านการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพวัยรุ่น ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในพื้นที่
3. เพื่อศึกษากระบวนการสะท้อนการคิดวิเคราะห์ และตัดสินใจในการดำเนินการปฏิบัติ กิจกรรมแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองของกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัยรุ่น และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องด้านการจัดการ นโยบายด้านการดูแลสุขภาพของกลุ่มวัยรุ่นในพื้นที่ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นอย่างง่ายโดยสมัครใจในการเข้าร่วมเป็นกลุ่มตัวอย่างคละตามกลุ่มอายุ ให้มี,จำนวนเท่าๆกัน โดยแบ่งเป็นกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น(อายุ 10-13 ปี) จำนวน 3 คน กลุ่มวัยรุ่น ตอนกลางจำนวน 3 คน(อายุ 14-18 ปี) และกลุ่มวัยรุ่นตอนปลาย (อายุ 19-22 ปี) จำนวน 4 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัยรุ่น จำนวนทั้งหมด 10 คน และเก็บข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องได้แก่ ตัวแทน จาก องค์การบริการส่วนตำบลสนามชัย จำนวน 1 คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามชัย จำนวน 3 คน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ตัวแทนผู้ปกครองจำนวน 3 คน ตัวแทนจากสถานศึกษาใน พื้นที่ตำบลสนามชัยจำนวน 3 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน รวมกลุ่ม ตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 20 คน โดยเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกแบบแยกกลุ่ม คือกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่ม ผู้เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูล ระหว่างวันที่ 30 เมษายน 2553 - วันที่ 14 พฤษภาคม 2553
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1.วัยรุ่นได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพของตน และในกลุ่มเพื่อนวัยรุ่นด้วยกันเอง
2. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านสุขภาพได้ทราบสถานการณ์และสภาพปัญหาของ กลุ่มวัยรุ่น ความต้องการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ฐานข้อมูลเกี่ยวกับวัยรุ่น
3.ได้กระตุ้นเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องในการแก่ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพของวัยรุ่น
4. ได้เครือข่ายองค์กรการเรียนรู้ของชุมชนที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพวัยรุ่น ช่วยเพิ่มคุณภาพ ชีวิตของประชากรวัยรุ่นในด้านการรับบริการสุขภาพที่ดีๆ
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : -
    บทคัดย่อ
   
ดาว์โหลดไฟล์บทคัดย่อ :  ดาวน์โหลดไฟล์ 20130202151020.pdf
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2552
ปีการศึกษา : 2553
ปีงบประมาณ : 2553
วันที่เริ่ม : 1 ต.ค. 2552    วันที่แล้วเสร็จ : 31 ก.ค. 2553
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 0.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 55,000.00 บาท สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
รวมจำนวนเงินทุน 55,000.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6