เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: ลักษณะงาน ความเสี่ยงในการทำงาน และความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ที่มีผลต่อการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
นางสาว เพ็ญรุ่ง  วรรณดี หัวหน้าวิจัย
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   การจัดการความปลอดภัยในโรงพยาบาลมีความสำคัญต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยทุกเพศวัย และการบรรลุเป้าหมายของการเป็นโรงพยาบาลคุณภาพ เน้นให้การจัดบริการสุขภาพมีประสิทธิภาพและปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและผู้ใช้บริการ จากสภาพแวดล้อมในการรักษาพยาบาลและรูปแบบการบริการทางสุขภาพในโรงพยาบาลที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน และเร่งด่วน ฉุกเฉินของภาระงาน รวมถึงเป็นการบริการแก่ผู้ที่มีปัญหาและต้องการตอบสนองด้านสุขภาพ ทำให้บริการที่จัดขึ้นในแต่ละวัน พยาบาลผู้ปฏิบัติมีโอกาสเผชิญความเสี่ยงจากลักษณะงาน สภาพแวดล้อมและกระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติงานทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ เคมี การยศาสตร์ และจิตสังคมอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้ป่วยต่อคุณภาพการปฏิบัติงาน และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนอนาคตการทำงานของบุคคลากรทางสุขภาพผู้ให้บริการ (วีณา จีระแพทย์, 2550) ผลลัพธ์ที่เกิดจากการให้การบริการพยาบาล เป็นองค์ประกอบสำคัญในการแสดงถึงคุณภาพของบริการพยาบาล ซึ่งสามารถวัดได้จากการปฏิบัติงานโดยใช้กระบวนการพยาบาลและผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานแต่ละบุคคล นำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ชี้วัดของมาตรฐานผลลัพธ์ทางการพยาบาล (Nursing Outcome Standard) ฉบับร่างที่สภาการพยาบาลกำหนดไว้ (สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล [ พ.ร.บ.], 2543:21) ได้ให้ความสำคัญเรื่อง ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการในระบบบริการสุขภาพที่จัดขึ้น เป็นผลมาจากเจ้าหน้าที่และพยาบาลได้มีการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติการณ์ต่างๆ ที่ไม่พึงประสงค์ และมีความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยที่สุดระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยนั้นมี 2 ประเด็นหลัก คือ การปฏิบัติที่ไม่ปลอดภัยแก่ผู้ป่วย (Unsafe Act) และสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย (Unsafe Condition) สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย ได้แก่ สภาพแวดล้อมและกระบวนการในการทำงานในองค์กร จากการศึกษาลักษณะการปฏิบัติงานการพยาบาลในโรงพยาบาล โดยสภาการพยาบาล พบว่าพยาบาลปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยในสภาวะที่มีความเร่งด่วนฉุกเฉิน ร้อยละ 43.91-66.75 มีความยุ่งยากซับซ้อนของงาน ร้อยละ 18.05 และต้องใช้ความรีบเร่งในการทำงาน รวมไปถึงชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ยิ่งไปกว่านั้นมีลักษณะงานเป็นกะ ผลัดเวร รวมถึงการมอบหมายงานไม่เหมาะสมกับความพร้อมของบุคคล รวมถึงสถานการณ์ที่ทำให้ยุ่งยากต่อการสังเกตและการใส่ใจในการปฏิบัติงาน (ทัศนา บุญทอง,2545) สิ่งต่างๆเป็นความเสี่ยงในการปฏิบัติงานจากสถานการณ์หรือการกระทำใดๆที่อาจจะทำให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิ่งคุกคามสุขภาพ (Health Hazard) จากการศึกษาของ พรทิพย์ พึ่งศักดิ์ (2552) เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยง ความสามารถในการปฏิบัติงาน กับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน เขต 4 พบว่า พยาบาลเคยเกิดความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานร้อยละ 56.2 การรับรู้ความเสี่ยงโดยรวมของพยาบาลอยู่ในระดับต่ำ และมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงและความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ขณะเดียวกัน ความไม่ปลอดภัยก็เกิดจากการปฏิบัติที่ไม่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน กล่าวคือพยาบาลมีโอกาสทำงานผิดพลาดได้ ซึ่งพบว่ายังมีการศึกษาในเรื่องนี้น้อย อย่างไรก็ดีการปฏิบัติงานที่เป็นไปตามมาตรฐานมีส่วนลดความผิดพลาดในการทำงาน การมีทักษะ หรือความสามารถจะช่วยทำให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ ดังนั้นดัชนีความสามารถในการทำงานเป็นส่วนสนับสนุนคุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งความสามารถในการทำงานมีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ งาน คน และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ตรงตามหลักของอาชีวอนามัย ศ.ดร.อิลมาริเนน (Ilmarinen, 2005: 3-8) กล่าวว่า การสนับสนุนสุขภาพและส่งเสริมความสามารถในการทำงานของบุคคลจำเป็นต้องดูแลปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และงานโดยสร้างกระบวนการปฏิบัติให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จัดโอกาสให้บุคคลได้มีส่วนร่วมในการทำงาน สร้างสรรค์รูปแบบการมีส่วนร่วมระหว่างหัวหน้าและผู้ปฏิบัติงาน กำหนดกระบวนการที่ปกป้องร่างกาย ฝึกฝนการประเมินที่ดี กระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างทัศนคติทางบวก แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการทำงานได้มีจุดมุ่งเน้นไปที่ชีวิตการทำงานกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพของบุคลากร ที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล ด้วยตระหนักถึงอันตรายที่แอบแฝงอยู่ซึ่งอาจจะเกิดจากกระบวนการทำงานและอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของบุคลากรในโรงพยาบาลรวมไปถึงผู้รับบริการด้วย ซึ่งโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโรงพยาบาลให้ก้าวสู่มาตรฐานการบริการของโรงพยาบาล (Hospital accreditation) ที่ทุกโรงพยาบาลต้องปฏิบัติ รวมถึงโรงพยาบาลชุมชนด้วยเช่นกันโรงพยาบาลชุมชนเป็นสถานบริการสุขภาพระดับอำเภอ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่รับผิดชอบในการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิแก่ผู้มารับบริการทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน โดยให้บริการแบบผสมผสานทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสภาพ มีขอบเขตการให้การบริการที่กว้างขวางทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ การจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่พยาบาลจะต้องได้รับการประเมิน ตรวจสอบ ติดตาม ดังนั้นผู้วิจัยในฐานะที่เป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ได้เล็งเห็นความสำคัญ และมีความสนใจที่จะศึกษาลักษณะงาน ความเสี่ยงในการทำงาน ความสามารถในการทำงานที่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน โดยใช้แนวคิดเรื่อง ความเสี่ยงในการทำงาน ความสามารถในการทำงาน และการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย ให้ผลการวิจัยจะได้เกิดประโยชน์สำหรับองค์กรพยาบาลในการนำมาประกอบการพัฒนาคุณภาพการดูแล และนำไปออกแบบในการปรับรูปแบบระบบการให้บริการ และเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้มารับบริการมากขึ้น นับเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นแนวทางในการปรับปรุงการพัฒนาคุณภาพการบริการของวิชาชีพให้รองรับการพยาบาลที่มีคุณภาพในอนาคต
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    วัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถทำนาย ระหว่าง ลักษณะงาน ความเสี่ยงในการทำงาน และความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ที่มีผลต่อการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชนวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อศึกษา1.ระดับการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน2.ความสัมพันธ์ระหว่าง ลักษณะงาน (ความเร่งด่วน ฉุกเฉิน ความยุ่งยากซับซ้อน และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน) ความเสี่ยงในการทำงาน และความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กับการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน3. ความสามารถในการทำนายของลักษณะงาน ความเสี่ยงในการทำงาน และความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ที่มีผลต่อการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขต 6 ประกอบด้วย โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัด สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี และนครปฐม รวมทั้งหมด 34 โรงพยาบาล มีจำนวนพยาบาลวิชาชีพทั้งหมด 1,707 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified sampling) ร่วมกับการกำหนดขนาดตัวอย่างให้ผันตามขนาดของประชากร (proportional allocation) โดยค่าสัดส่วนในแต่ละชั้นภูมิได้จากการศึกษานำร่อง (pilot study) ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนขนาดต่างๆ 3 โรงพยาบาล แล้วนำมาคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา ได้กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา จำนวน 408 คน และได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์ ครบถ้วน กลับคืนมาในการเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 400 คน คิดเป็นร้อยละ 98.04
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    นำผลศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถทำนาย ระหว่าง ลักษณะงาน ความเสี่ยงในการทำงาน และความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ที่มีผลต่อการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชนมาใช้ประโยชน์จัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาลชุมชน
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : -
    บทคัดย่อ
   
ดาว์โหลดไฟล์บทคัดย่อ :  ดาวน์โหลดไฟล์ paper เพ็ญรุ่ง_2.pdf
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2553
ปีการศึกษา : 2554
ปีงบประมาณ : 2554
วันที่เริ่ม : 1 ต.ค. 2553    วันที่แล้วเสร็จ : 30 ก.ย. 2554
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 0.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท ทุนส่วนตัว
รวมจำนวนเงินทุน 0.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6