เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: ความเครียดและทักษะการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุขณะเจ็บป่วยในโรงพยาบาลบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
กลุ่มสาขาวิชาการ : การพยาบาลอนามัยชุมชนและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   ในปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรตลอดจนความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ และทางสาธารณสุขได้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก พบว่าประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในปี ค.ศ.2000 จะมีประชากรผู้สูงอายุประมาณ 570 ล้านคน และในปี ค.ศ.2020 จะมีถึง 976 ล้านคน สำหรับสถิติของประเทศไทยในรอบ 20 ปี ที่ผ่านมา พบว่า ประชากรผู้สูงอายุคือ อายุ 60 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า กล่าวคือ ในปี พ.ศ.2523 มีจำนวนผู้สูงอายุประมาณ 2.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2543 มีจำนวนประมาณ 5.3 ล้านคน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.2 ล้าน และ 12.3 ล้านคน ในปี พ.ศ.2549 และ พ.ศ.2563 สำหรับจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่าจำนวนผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.0 .ในปี 2533 เป็นร้อยละ 19.6 ของประชากรทั้งหมด ในปี 2543 และจากผลการสำรวจประชากรกลางปี 2552 พบมีจำนวนผู้สูงอายุทั้งสิ้น 119,008 คน เพศชาย 51,952 คน และเพศหญิงจำนวน 67,056 คน(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี,2552)
จากสถิติการเพิ่มจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่อ้างมาข้างต้น ถ้าพิจารณาจะเห็นได้ว่าประชากรกลุ่มสูงอายุมีจำนวนหรือขนาดเพิ่มขึ้นอย่างมากและต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลทำให้ผู้สูงอายุต้องประสบกับปัญหาด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในทางที่เสื่อมลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม มีผลกระทบทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคลนั่นหมายถึงไม่เพียงแต่มีผลต่อผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบถึงสมาชิกภายในครอบครัวและญาติผู้ดูแลในครอบครัวที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ด้วย โดยเฉพาะขณะที่ผู้สูงอายุเจ็บป่วย โดยพบว่าในโรงพยาบาลบางปลาม้ามีผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยมากกว่า 1000 ราย ในปี 2552 ในสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันนี้ทำให้ญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องต่อสู้ดิ้นรน และรับภาระหนักทั้งด้านการตอบสนองความต้องการส่วนบุคคลขั้นพื้นฐาน
( Basic Needs ) และภาระการให้การสนับสนุนทางด้านเศรษฐกิจ จากผลกระทบดังกล่าวส่งผลให้ญาติผู้ดูแลต้องรับภาระการดูแลเป็นเวลายาวนาน ทั้งที่เต็มใจและไม่เต็มใจ ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต และอาจสร้างความกดดันและความเครียดให้กับญาติผู้ดูแล ความเครียดที่รุนแรงที่เกิดกับญาติผู้ดูแลจะทำให้ญาติผู้ดูแลขาดประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางกาย จิตใจ และอารมณ์ของญาติผู้ดูแล ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเครียดและการเผชิญความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุขณะเจ็บป่วย เพื่อหาแนวทางในการเพิ่มศักยภาพในการเผชิญความเครียดจากการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านหรือในชุมชน ต่อไป
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
1. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับทักษะการเผชิญความเครียดจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุขณะเจ็บป่วย
2. ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดจากการดูแลกับทักษะการเผชิญความเครียดจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุขณะเจ็บป่วย
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเครียดจากการดูแลและทักษะการเผชิญความเครียดจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุขณะเจ็บป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือนมีนาคม ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ.2553
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    เพื่อให้ทราบถึง ความเครียด ทักษะการเผชิญความเครียด และปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุขณะเจ็บป่วย เพื่อหาแนวทางในการเพิ่มศักยภาพในการเผชิญความเครียดจากการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านหรือในชุมชนต่อไป
    บทคัดย่อ
    คำสำคัญ : ญาติผู้ดูแล ความเครียด ทักษะการเผชิญความเครียด ผู้สูงอายุ
เนติยาฌร์ แจ่มทิม:ความเครียดจากการดูแลและทักษะการเผชิญความเครียดจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุขณะเจ็บป่วยในโรงพยาบาล( Stress and Coping in Caregivers of Elderly in Hospital )ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์:อาจารย์ พันเอกหญิง ดร.นงพิมล นิมิตรอานันท์, สด.(การพยาบาลสาธารณสุข)
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความเครียดจากการดูแลและทักษะการเผชิญความเครียดจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุขณะเจ็บป่วย ในโรงพยาบาลบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุขณะเจ็บป่วยในโรงพยาบาลบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 64 ราย เก็บข้อมูลเดือนมีนาคม ถึง เดือนมิถุนายน 2553 ใช้แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน และแบบประเมินความเครียดจากการดูแลและทักษะการเผชิญความเครียดจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุขณะเจ็บป่วย ทำการวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุขณะเจ็บป่วยโดยรวม มีความเครียดในกิจกรรมการดูแลน้อย
2. ทักษะการเผชิญความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุ ใช้วิธีการมุ่งแก้ปัญหาและด้านการจัดการกับอารมณ์ เป็นบางครั้ง
3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเครียดจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุ กับทักษะการเผชิญความเครียดจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุขณะเจ็บป่วย พบว่าความเครียดจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับทักษะการเผชิญความเครียดจากการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุขณะเจ็บป่วย ด้านการมุ่งแก้ปัญหา อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผู้วิจัยเสนอแนะให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีการวางแผนในการเตรียมความพร้อมของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลและอาจารย์มีการวางแผนการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุ และพยาบาลชุมชนควรมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องแก่สมาชิกในครอบครัวในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2553
ปีการศึกษา : 2553
ปีงบประมาณ : 2553
วันที่เริ่ม : 1 ก.พ. 2553    วันที่แล้วเสร็จ : 31 ม.ค. 2554
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 30,000.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 30,000.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6