เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: การพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งเน้นผล สัมฤทธิ์
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
   หัวหน้าวิจัย
นาง สุดารัตน์  วุฒิศักดิ์ไพศาล ผู้ร่วมวิจัย
นางสาว ศิริพร  ชุดเจือจีน ผู้ร่วมวิจัย
กลุ่มสาขาวิชาการ : การบริหาร
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้บริหารในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพราะช่วยให้ผู้บริหารทราบจุดเด่นและจุดอ่อนของบุคลากรแต่ละคน สามารถตัดสินใจได้ว่าบุคคลนั้นควรปฏิบัติงานต่อในตําแหน่งเดิมหรือไม่ ช่วยในการพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนตำแหน่งและนําผลประเมินมาพัฒนาความรู้ ทักษะและสมรรถนะของบุคลากรได้อย่างเหมาะสม การประเมินผลการปฏิบัติงานมีความสำคัญต่อบุคลากรที่ปฏิบัติงานเช่นกันเพราะผู้ปฏิบัติงานย่อมต้องการทราบว่าผลการปฏิบัติงานของตนเป็นอย่างไร มีคุณค่าเพียงใดตามมุมมองของผู้บังคับ บัญชา มีส่วนใดที่ควรจะคงไว้และส่วนใดควรจะปรับปรุง บุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานดีอยู่แล้วจะได้รับการส่งเสริมให้มีผลการปฏิบัติงานดียิ่งขึ้น ส่วนบุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็จะได้รับการพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมายมากขึ้น ระบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้องค์กรบรรลุผลลัพธ์การดำเนินงานที่กำหนดไว้ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ส่งผลให้บุคลากรมีความพึงพอใจในงานและเกิดความผูกพันกับองค์กร2 ในทางตรงกันข้ามถ้าระบบประเมินผลการปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพ จะทำให้เกิดความขัดแย้งภายในองค์กร บุคลากรรู้สึกไม่พึงพอใจในงาน ขาดความผูกพันกับองค์กรและมีโอกาสที่จะลาออกจากองค์กรสูง3 ปัญหาของการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมาคือมุ่งประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานมากกว่าวัดผลสำเร็จของงาน ไม่มีการกำหนดเป้าหมายเกี่ยวกับผลสำเร็จของงานไว้ล่วงหน้า ขาดการถ่ายทอดเป้าหมายการปฏิบัติงานจากระดับบนลงสู่ระดับล่าง ผู้ประเมินใช้ดุลยพินิจมากเกินไป จนเกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกประเมิน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานที่มีความตั้งใจในการปฏิบัติงานและสามารถสร้างผลงานให้กับองค์กรขาดแรงจูงใจและกำลังใจในการปฏิบัติงาน4
การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นวิธีการบริหารงานที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงานเป็นสำคัญ องค์กรที่บริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์จะต้องกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงานที่ชัดเจนไว้ล่วงหน้า สามารถตรวจสอบได้ โดยใช้ตัวชี้วัดที่ครอบคลุมปัจจันำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและผลลัพธ์ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์สามารถนำไปเชื่อมโยงกับการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการถ่ายทอดเป้าหมายและตัวชี้วัดผลการดำเนินงานขององค์กรลงไปสู่เป้าหมายและตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานระดับบุคคล มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะเพื่อแสดงความก้าวหน้าและสัมฤทธิผลของการดำเนินงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่และวัดผลการปฏิบัติงานเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ ภายหลังการประเมินผลการปฏิบัติงานแล้วต้องมีการให้รางวัลตอบแทนตามระดับของผลงานที่ได้ตกลงกันไว้เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การถ่ายทอดเป้าหมายขององค์กรลงไปสู่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละระดับจึงช่วยส่งเสริมให้ผลการดำเนินงานขององค์กรบรรลุเป้าหมายเพราะมีผู้รับผิดชอบผลการดำเนินงานขององค์กรที่ชัดเจน
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรีดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยใช้แบบประเมินที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) กำหนด มีมิติการประเมิน 2 ด้านคือด้านผลงานและด้านคุณลักษณะในการปฏิบัติงาน คะแนนประเมินทั้งหมด 200 คะแนน ผลประเมินการปฏิบัติงานที่ได้ขาดการตรวจสอบหลักฐานเชิงประจักษ์ของผลงานและไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นผลงานที่วิทยาลัยต้องการให้เกิดขึ้นหรือไม่ ผลการประเมินไม่สามารถนำมาเทียบเคียงกันได้เพราะผู้ประเมินแต่ละคนมีมาตรฐานในการประเมินไม่เหมือนกัน ทำให้คะแนนผลการปฏิบัติงานของบุคลากรบางคนสูงหรือต่ำเกินไปโดยไม่สัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานที่แท้จริง ส่งผลให้บุคลากรที่มีความตั้งใจในการปฏิบัติงานและมีผลงานที่เกิดประโยชน์ต่อวิทยาลัยขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ผลประเมินความพึงพอใจต่อระบบบริหารงานของวิทยาลัยปีงบประมาณ 2551 พบว่าคะแนนความพึงพอใจต่อการเลื่อนขั้นเงินเดือนและความพึงพอใจต่อระบบประเมินผลการปฏิบัติงานเท่ากับ 2.64 และ 2.85 จากคะแนนเต็ม 5 ตามลำดับ 5 นอกจากนี้ยังพบว่าผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดหลักที่สำคัญของวิทยาลัย เช่น จำนวนผลงานวิจัยที่เผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติและผลการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพยังไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย 6,7 แม้จะพยายามพัฒนาการดำเนินงานเพื่อให้ตัวชี้วัดเหล่านี้บรรลุเป้าหมายมาเป็นเวลาหลายปี สาเหตุประการหนึ่งคือผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดดังกล่าวไม่ได้ถูกเชื่อมโยงกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง
จากการทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานพบว่าการวิจัยเกี่ยวกับระบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่ครอบคลุมทุกองค์ประกอบของการประเมินมีค่อนข้างน้อย งานวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่มุ่งพัฒนาระบบประเมินเพียงอย่างเดียว แต่ขาดการศึกษาถึงผลของการนำระบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่พัฒนาขึ้นไปใช้ นอกจากนี้ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานมีวิธีการและรายละเอียดที่แตกต่างกันเนื่องจากการประเมินผลการปฏิบัติงานมีความเกี่ยวข้องกับค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรมของสังคมหรือหน่วยงานนั้นๆ เช่น วัฒนธรรมตะวันตกจะยอมรับการสื่อสารที่ตรงไปตรงมาได้มากกว่าวัฒนธรรมตะวันออก องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานจึงมีความจำเพาะกับหน่วยงานนั้นๆ ไม่สามารถนำไปใช้กับหน่วยงานอื่นได้ทั้งหมด8
ผู้วิจัยได้ตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญของระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน จึงได้ดำเนินการพัฒนาระบบประเมินผลการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์และศึกษาถึงผลลัพธ์ของการนำระบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่พัฒนาขึ้นไปใช้ เพื่อให้วิทยาลัยมีระบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร รวมทั้งส่งเสริมให้ผลการดำเนินงานของวิทยาลัยบรรลุเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
2. เพื่อศึกษาผลของการนำระบบประเมินผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การวิจัยและพัฒนา
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ประโยชน์ต่อการบริหารงาน ผู้บริหารสามารถนำระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานขององค์กรเพื่อพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ผลวิจัยที่ได้สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาการบริหารทางการพยาบาลเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบประเมินผลการปฏิบัติงานและเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา
    บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบมุ่งเน้นผล สัมฤทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคืออาจารย์ของวิทยาลัย จำนวน 37 คน ระยะเวลาการวิจัยเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2553 - 30 กันยายน 2554 วิธีการพัฒนารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานประกอบด้วยการวิเคราะห์ระบบ การสังเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การตรวจสอบระบบ การนำระบบไปใช้และการประเมินผลระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจต่อระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ข้อคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับความคิดต่อระบบที่ใช้และแบบบันทึกผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดระดับวิทยาลัยและระดับบุคคล จากนั้นได้นำระบบที่ร่างขึ้นมาจัดทำคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติงานและนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงของระบบ แบบประเมินความพึงพอใจต่อระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ได้นำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและนำมาวิเคราะห์หาค่า IOC (Index of Item - objective Congruence) โดยเลือกข้อที่มีค่า IOC ตั้งแต่ .80 ขึ้นไป ตรวจหาความเที่ยงตรงของแบบประเมินโดยใช้ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coeefficient) ได้ค่าเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired t -test
ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ได้ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ วัตถุประสงค์การประเมิน เกณฑ์ประเมิน (ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายและเกณฑ์การให้คะแนน) ผู้ประเมิน ผู้รับการประเมิน วิธีการประเมินและการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบฟอร์มเอกสารสำหรับการประเมิน 2) กระบวนการประเมิน ประกอบด้วยการชี้แจงระบบประเมิน การถ่ายทอดกตัวชี้วัดระดับวิทยาลัยลงสู่ระดับบุคคล การกำหนดตัวชี้วัดตามหน้าที่และตัวชี้วัดตามงานที่ได้รับมอบหมาย การลงนามข้อตกลงการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดที่ได้รบมอบหมาย การติดตามให้คำปรึกษาและสอนงานของผู้บังคับบัญชาระหว่างปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาผลการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดในแต่ละตัวบ่งชี้ 3) ผลลัพธ์ ประกอบด้วย ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดระดับวิทยาลัยและระดับบุคคล ผลการประเมินความพึงพอใจของอาจารย์ต่อระบบการประเมิน 4) ข้อมูลป้อนกลับได้แก่การนำผลประเมินการปฏิบัติงานแจ้งให้กับผู้รับการประเมินทราบเพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาการปฏิบัติงานของตนเองให้บรรลุเป้าหมาย นำข้อมูลไปใช้วางแผนพัฒนาบุคลากรและพิจารณาการเพิ่มค่าตอบแทน รวมทั้งนำไปปรับปรุงระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
ผลการนำระบบไปใช้ พบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ประเมินผลการปฏิบัติงาน หลังจากนำระบบไปใช้พบว่าตัวชี้วัดผลงานสำคัญของวิทยาลัย มีแนวโน้มดีขึ้น เช่น เงินสนับ สนุนการวิจัย จำนวนงานวิจัยที่เผยแพร่ คะแนนการประเมินคุณภาพการบริการการศึกษาภายใน ร้อยละของโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผน ร้อยละของโครงการวิชาการที่บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น ความพึงพอใจของอาจารย์ต่อระบบประเมินปีงบประมาณ 2554 สูงกว่า ปีงบประมาณ 2553 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t = 2.75, p < .01)
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2552
ปีการศึกษา : 2554
ปีงบประมาณ : 2554
วันที่เริ่ม : 1 ต.ค. 2552    วันที่แล้วเสร็จ : 30 ก.ย. 2554
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 40,000.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทุน 40,000.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6