เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลสนามชัย จังหวัดสุพรรณบุรี
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
นาง จันทร์ฉาย  มณีวงษ์ หัวหน้า 80
นาง ขวัญฤทัย  พันธุ ผู้ร่วม 20
กลุ่มสาขาวิชาการ : การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   การส่งเสริมสุขภาพเป็นกลยุทธ์สำคัญในการบรรลุเป้าหมายของการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าและเป็นกระบวนการเพิ่มความสามารถของบุคคลในการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพตนเองให้ดีขึ้นให้บรรลุสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ องค์การอนามัยโลกได้เล็งเห็นความสำคัญมีการส่งเสริมสุขภาพระดับนานาชาติ ได้มีการดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2529 จากการประชุมนานาชาติที่ประเทศคานาดา (The First International Conference on Health Promotion : 1986) ได้เสนอแนะให้ประเทศสมาชิกดำเนินกิจกรรมหลัก 5 ประการ คือ 1.สร้างนโยบายสาธารณ 2.สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ 3. เสริมสร้างกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง 4.พัฒนาทักษะส่วนบุคคล 5. ปรับเปลี่ยนบริการสาธารณสุขและประกาศเป็นกฎบัตรออตตาวาเพื่อส่งเสริมสุขภาพ(Ottawa Chater for Health) และในการประชุมครั้งนั้น ได้แนวทางการพัฒนาสุขภาพประชาชนด้วย “การสาธารณสุขแนวใหม่” โดยใช้แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพและหลายประเทศทั่วโลกได้ถือเป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแนวคิดหลักการของสาธารณสุขแนวใหม่ให้ความสำคัญกับการที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมสร้างสุขภาพตนเอง ประชาชนหรือชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรื่องสุขภาพของตนเอง โดยบุคลากรสุขภาพต้องทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆเพื่อผลักดันให้ประชาชนได้สร้างเสริมสุขภาพ (สุรีย์ ธรรมิกบวร, 2552: 5)สำหรับประเทศไทยได้รับนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพพร้อมกับประเทศอื่นทั่วโลกในปี พ.ศ. 2529 และได้ดำเนินการสร้างสุขภาพตั้งแต่นั้นมา โดยนำแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพมาบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8,9 และต่อเนื่องไปยังแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ที่มุ่งเน้นการสร้างวัฒนธรรมสุขภาพไทยไปสู่ระบบสุขภาพพอเพียง โดยยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณการเป็นองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางพัฒนาสร้างเสริมสุขภาวะให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจโดยการพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนรวมถึงการพัฒนาความรู้ทางด้านสุขภาพและปรับระบบบริการสุขภาพให้รองรับการส่งเสริมสุขภาพโดยมุ่งสร้างพฤติกรรมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพรวมทั้งส่งเสริมบทบาทขององค์กรภาคประชาชนและสังคมในการพัฒนาสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11, 2554)กระทรวงสาธารณสุขได้เห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพประชาชน จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาโรงพยาบาลในสังกัดให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โดยผลักดันให้มีนโยบายที่จะพัฒนาโรงพยาบาลในสังกัดเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จากเดิมที่มุ่งการรักษาและป้องกันโรคโดยหันมาเน้นการส่งเสริมสุขภาพและสนับสนุนการประสานความร่วมมือระหว่างระดับต่างๆ ตั้งแต่ท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติให้มากขึ้นและเน้นนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก ที่เน้นการทำงานของภาครัฐกับประชาชน ต้องการให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในด้านการส่งเสริมสุขภาพโดยเฉพาะแกนนำในชุมชน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลและกลุ่มสมาชิกชมรมต่างๆสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนั้นมีความสำคัญต่องานส่งเสริมสุขภาพอย่างมากเพราะเป็นกลุ่มที่ผ่าการอบรมด้านสุขภาพและได้ดำเนินกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพมาก่อนแกนนำกลุ่มอื่นๆ จึงมีความรู้และความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพมากกว่ากลุ่มใดๆ โดยส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทั่วประเทศให้มีบทบาทการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมสุขภาพอนามัยของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนในการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานที่ผ่านมาได้อาศัยกลไกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพ เพราะเป็นตัวประสานงานระหว่างภาครัฐและประชาชนในการสร้างเสริม สุขภาพและยังเป็นตัวแทนของประชาชนในหมู่บ้านเป็นที่นับถือของประชาชนที่ อาสาเข้ามาทำงานในด้านสุขภาพเป็นผู้นำในการสร้างเสริมสุขภาพในภาคประชาชนมีการกระตุ้นและชักนำประชาชนในการสร้างเสริมสุขภาพได้อย่างดี ก่อให้เกิดความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชน (มนัชยา สุยะลังกา 2550:3)ปัจจุบันมีการศึกษาหาแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้แนวคิดของเพนเดอร์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่กล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของแต่ละบุคคลที่ประกอบด้วย ปัจจัยด้านคุณลักษณะและความรู้สึกนึกคิดที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อพฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์ด้านพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพมีความสำคัญเนื่องจากทำให้บุคคลที่มีภาวะสุขภาพดีและเจ็บป่วยสามารถดำรงภาวะสุขภาพได้มากที่สุด โดยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพมีความสำคัญเนื่องจากทำให้บุคคลที่มีภาวะสุขภาพดีและเจ็บป่วยสามารถดำรงภาวะสุขภาพไว้ได้มากที่สุด โดยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในความหมายของเพนเดอร์ (Pender, 1996) หมายถึง การกระทำที่มุ่งการบรรลุให้มีสุขภาพที่ดี เป็นการกระทำที่เพิ่มระดับการผาสุกของบุคคล ดังนั้นการที่จะทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข จะต้องมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มระดับของความเป็นอยู่ที่ดี (Well being) และสิ่งที่สมบูรณ์ที่สุดในชีวิต (self-actualization) ของบุคคลและกลุ่มบุคคล การสร้างเสริมสุขภาพมีจุดเน้นที่การสร้างเสริมให้บุคคลมีภาวะสุขภาพและความผาสุกของชีวิตในทางบวกเกิดเป็นมโนทัศน์ด้านพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (Health promoting behavior) (Pender,2006 : 50)ตำบลสนามชัย อ.เมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี มี 6 หมู่บ้าน มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทำงานในชุมชน จำนวน 130 คน รับผิดชอบดูแลสุขภาพประชาชนตามสัดส่วนของจำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต่อประชากรคิดเป็น 1: 77คน (รพ.สต สนามชัย จากจำนวนประชากร 10021 คน)ดังนั้น ถ้าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความตระหนักในหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพและถ่ายทอดความรู้รวมถึงมีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพประชาชนระดับหมู่บ้าน และเป็นตัวผลักดันการส่งเสริมสุขภาพโดยเป็นแบบอย่างให้แก่ประชาชนได้อย่างต่อเนื่องดังนั้นผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงปัญหาจึงได้ให้ความสนใจศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าการศึกษาต่างๆของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านยังมีน้อยมาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจและให้ความสำคัญในเรื่องพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในชุมชนนี้ตามรูปแบบของการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ อีกทั้งจากการดำเนินตามนโยบายเพื่อการดำเนินการเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมาแล้ว 1 ปี ยังไม่มีการประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมาก่อนเพื่อที่จะนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพและให้บริการในด้านต่างๆแก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อให้มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมและต่อเนื่องต่อไป
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลสนามชัย อ.เมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษา การรับรู้ภาวะสุขภาพ ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลสนามชัย อ.เมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี3. เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของระดับการศึกษา การรับรู้ภาวะสุขภาพ ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลสนามชัย อ.เมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ ศึกษาวิเคราะห์ตัวแปรระดับการศึกษา การรับรู้ภาวะสุขภาพ ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลสนามชัย อ.เมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรีระหว่างเดือน พฤษภาคม 2555 – กันยายน 25569 ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น คือ ระดับการศึกษา การรับรู้ภาวะสุขภาพ ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    ผลการวิจัยสามารถนำไปวางแผนการดำเนินงานการให้ความรู้ส่งเสริมหรือจัดกิจกรรม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยอาศัยปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นตัวเสริมในการให้ความรู้และสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเชื่อมโยงกระบวนแก้ไขปัญหากับหน่วยงานที่สามารถสนับสนุนแก้ปัญหาอื่นๆหรือเกิดกิจกรรมอื่นๆในชุมชนได้
    บทคัดย่อ
   

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ในตำบลสนามชัย จังหวัดสุพรรณบุรี

                                                                                                                        จันทร์ฉาย  มณีวงษ์*

                                                                                                                                                                     ขวัญฤทัย  พันธุ*

บทคัดย่อ

                อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและศึกษาอำนาจการทำนาย การศึกษา การรับรู้ภาวะสุขภาพ ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและการรับรู้สมรรถนะของตนเองกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

 กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติงานเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลสนามชัย จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 97 คน เลือกมาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของบุคคล 2) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ อุปสรรคสมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและ   3) แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์เพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณแบบเชิงชั้น ผลการวิจัยพบว่า

1.            อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ใน ระดับดี

( 12X'>  =3.47, S.D.=.35) ส่วนในรายด้าน ด้านกิจกรรมทางกาย ด้านโภชนาการ ด้านการจัดการกับความเครียด อยู่ในระดับดี ส่วนอีก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ อยู่ในระดับดีมาก

2.  การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง

กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01(r =.349) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = .245)

3.    การรับรู้สมรรถนะของตนเอง (β = 3.536)รองลงมาคือ การรับรู้ประโยชน์ (β = 1.248) และการรับรู้ภาวะสุขภาพ

สุขภาพ (β = -3.354) โดยตัวแปรทั้งสามร่วมกันสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้ ร้อยละ 18.30 (P < 0.000)

                ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยในครั้งนี้ นำไปสู่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัย การรับรู้สมรรถนะของตนเอง การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้ภาวะสุขภาพ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อไป

 

Keyword:  พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

 

ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

* พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

 

ดาว์โหลดไฟล์บทคัดย่อ :  ดาวน์โหลดไฟล์ 20130919111254.pdf
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2555
ปีการศึกษา : 2555
ปีงบประมาณ : 2555
วันที่เริ่ม : 1 ก.พ. 2555    วันที่แล้วเสร็จ : 31 ม.ค. 2556
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 0.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท 2555
รวมจำนวนเงินทุน 0.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6