เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลการประกันคุณภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา
ข้อมูลการพัฒนาบุคลากร
ข้อมูลเกี่ยวกับวิชาการ
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับการเงิน
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
ปฏิทินการขอใช้ห้องประชุม
แผนภูมิแสดงข้อมูลงานวิจัย
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
แผนภูมิแสดงแผนปฎิบัติการ
ดาว์โหลดเอกสารประเภทต่างๆ
สายตรงผู้อำนวยการ
   
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » รายละเอียด
 
‹ ย้อนกลับ
 
หน่วยงาน : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ประเภทผลงาน : โครงการวิจัย
ชื่อผลงาน: ศึกษาภาวะสุขภาพของเด็กออทิสติก ความรู้และความเครียด ของผู้ดุแลเด็กออทิสติกที่ได้รับบริการจากศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 5 จังหวัดสุพรรณบุรี
  เป็นผลงานที่อยู่ในแผนส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการของวิทยาลัย
  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวิทยาลัยและ/หรือหน่วยงานอื่นๆ ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการ
ชื่อผู้ทำวิจัย สถานะการทำวิจัย สัดส่วน
นาง ปวิดา  โพธิ์ทอง หัวหน้า 50
นาง สุนทรี  ขะชาตย์ ผู้ร่วม 25
นางสาว สุพัตรา  จันทร์สุวรรณ ผู้ร่วม 20
นางสาว เสาวลักษณ์  แสนฉลาด ผู้ร่วม 5
กลุ่มสาขาวิชาการ : การพยาบาลจิตเวช
    ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
   ออทิสติกเป็นความผิดปกติของด้านสังคม ความบกพร่องด้านภาษาการสื่อสาร และมีพฤติกรรมซ้ำๆ เมื่ออายุประมาณ 9 – 18 เดือน ได้แก่ พฤติกรรมเหมือนอยู่ในโลกของตนเอง ไม่สนใจบุคคลอื่น ไม่มองสบตา ไม่มีพฤติกรรมที่แสดงอารมณ์ผูกพันต่อพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ไม่ชอบเล่น หรือ สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นตามระดับพัฒนาการ ไม่แสดงอารมณ์โต้ตอบหรือความสนใจร่วมกับคนอื่น และมักสนใจสิ่งที่เป็นวัตถุมากกว่าบุคคล (มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์, 2555) ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า จากจำนวนประชากรของประเทศไทย จำนวน 65 ล้านคน มีประชากรกลุ่มออทิสติก ประมาณ 6 ใน 1,000 หรือร้อยละ 0.6 ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 650,000 คน(ไทยรัฐ, 2556) ออทิสติกเป็นภาวะที่ยากลำบากในการดูแล ประกอบกับ สถานการณ์ระบบบริการสุขภาพ มีปัญหาสำคัญได้แก่จำนวนและคุณภาพของหน่วยให้บริการ โดยจำนวนสถานบริการและบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่เพียงพอ และค่าใช้จ่ายในการรับบริการสูง ทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ค่าเดินทาง ทำให้ผู้ปกครองบุคคลออทิสติกและบกพร่องทางพัฒนาการในต่างจังหวัดใช้สิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพเฉพาะบางด้านที่มีการให้บริการ เช่นกรณีเจ็บป่วยทั่วไป แต่กรณีการฟื้นฟูสมรรถภาพ มีการใช้ ไม่มากนัก เนื่องจากแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการกำหนดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ให้ครอบคลุม ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อปรับสภาพทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมพฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้นก็ตาม แต่หน่วยบริการส่งเสริมพัฒนาการ ยังมีจำกัดเฉพาะในระดับโรงเรียน ศูนย์หรือโรงพยาบาลจังหวัด ซึ่งอยู่ในตัวจังหวัด อีกทั้งสถานที่ของหน่วยบริการพัฒนาการในสถานพยาบาล ไม่เอื้อต่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ บางแห่งเป็นห้องฝึกขนาดเล็กฝากไว้กับงานอื่นในสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่หรือพยาบาลส่งเสริมพัฒนาการ พยาบาลจิตเวช สื่อส่งเสริมพัฒนาการ สื่อความรู้ผู้ปกครอง มีไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ปกครองมาพบแพทย์ได้เพียงบางครั้ง บางรายนัดพบแพทย์และนัดรับบริการ ทุก ๖ เดือนครั้ง ไม่มีความต่อเนื่อง ได้รับบริการกระตุ้นพัฒนาการ การฝึกพูด การปรับพฤติกรรม กิจกรรมบำบัด จำนวนน้อยครั้ง และผู้ปกครองขาดการนำคำแนะนำไปใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ผู้ปกครองส่วนใหญ่จึงใช้สิทธิตามระบบหลักประกันเพียงการรักษาพยาบาลทั่วไปมากกว่าการส่งเสริมพัฒนาการและการฟื้นฟูสมรรถภาพ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 5 จังหวัดสุพรรณบุรี ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มและการเตรียมความพร้อมเพื่อการส่งต่อ พัฒนาศักยภาพเด็กพิการที่มีความบกพร่องทุกประเภท รวมทั้งเด็กออทิสติก โดยจัดรูปแบบการให้บริการ ได้แก่ บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มและเตรียมความพร้อมภายในศูนย์ ทั้งประจำและไป-กลับ บริการที่บ้าน บริการในโรงเรียนเรียนร่วม และบริการเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ซึ่งมีบทบาทในการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการรวมทั้งเด็กออทิสติก โดยครอบครัวและชุมชน ด้วยกระบวนการทางการศึกษา ปัจจุบันมีเด็กที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับออทิสติกที่ได้รับบริการ ประมาณ 100 คน โดยมีเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบหลักในการให้บริการ คืออำเภอต่างๆในจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนเด็กออทิสติกที่มาเข้ารับบริการ ณ ศูนย์ศึกษาพิเศษเขต 5 มีจำนวน ทั้งสิ้น 30 คน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวพบปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในเด็กออทิสติกได้แก่ ภาวะโภชนาการเกิน และ ฟันผุ (ฝ่ายวิชาการ ,ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 5, 2555) ซึ่งผู้ดูแลเด็กออทิสติก หรือครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้เด็กออทิสติกสามารถพัฒนาไปได้เต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้ดูแลหมายถึงบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยที่บ้าน (สันต์ ใจยอดสิงห์, 2555) ผู้ดูแล คือ บุคคลที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลที่กระทำต่อผู้ป่วยโดยตรง โดยให้การดูแลอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องมากกว่าคนอื่น มุ่งเน้นที่การกระทำเพื่อตอบสนองความต้องการด้านร่างกาย ผู้ดูแลเด็ก ออทิสติก จึงหมายถึง สมาชิกครอบครัว ญาติ ที่อยู่ร่วมครอบครัวเดียวกัน หรือผู้รับจ้างดูแลเด็กออทิสติก ที่มีหน้าที่โดยตรงในการให้ความช่วยเหลือดูแลเด็กออทิสติกที่บ้านหรือที่ศูนย์ดูแลอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งการดูแลเด็กออทิสติกที่ยาวนานก่อให้เกิดความเครียด นอกจากนี้ปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดความเครียดของผู้ดูแลยังเกิดจาก ภาวะสุขภาพจิต ระยะเวลาในการดูแล ความรู้ ความพร้อมในการดูแลและความรุนแรงของโรคออทิสติก ( พฤฒิศักดิ์ จันทราทิพย์ , 2553) ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ได้จัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต โดยจัดให้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ได้ลงฝึกภาคปฏิบัติ ณ ศูนย์ศึกษาพิเศษเขต 5 จ.สุพรรณบุรี เพื่อให้การดูแลผู้รับบริการที่เป็นเด็กพิเศษซึ่งรวมทั้งเด็กออทิสติกด้วย นอกจากนี้ยังได้จัดโครงการบริการวิชาการการให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพเด็กออทิสติกของผู้ดูแลเด็กออทิสติก เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพเด็กออทิสติก หลังจัดโครงการบริการวิชาการ พบว่าผู้ดูแลยังมีความต้องการความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพเด็กออทิสติกที่เกี่ยวกับภาวะสุขภาพและความรู้ในการดูสุขภาพเด็กออทิสติกเบื้องต้น นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ดูแลต้องดูแลเด็กตลอดทั้งวันและเป็นระยะเวลานานหลายปีอาจทำให้ผู้ดูแลเกิดปัญหาทางสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ ดังนั้นอาจารย์ในภาควิชาฯ นักศึกษาพยาบาลและอาจารย์ ณ ศูนย์ศึกษาพิเศษเขต 5 จ.สุพรรณบุรี สนใจนำผลจากการจัดโครงการบริการวิชาการมาวางแผนต่อยอดเป็นการวิจัย เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาวางแผนดูแลเด็กออทิสติกและช่วยเหลือผู้ดูแลให้มีความพร้อมในการดูแลเด็กออทิสติก ดังนั้นทีมผู้วิจัยมีความสนใจศึกษาภาวะสุขภาพของเด็กออทิสติก ความรู้และความเครียดของผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่มารับบริการจากศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 5 จังหวัดสุพรรณบุรี โดยนำผลการวิจัยไปวางแผนการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลให้สามารถดูแลสุขภาพเด็กออทิสติกได้อย่างถูกต้องและวางแผนการให้ความรู้ผู้ดูแลเกี่ยวกับความเครียด การผ่อนคลายความเครียดที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
     
    วัตถุประสงค์ของโครงการ
    1.เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของเด็กออทิสติกที่มารับบริการจากศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 5 จังหวัดสุพรรณบุรี 2.เพื่อศึกษาภาวะเครียดของผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่มารับบริการจากศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 5 จังหวัดสุพรรณบุรี 3. เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่มารับบริการจากศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 5 จังหวัดสุพรรณบุรี เกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กออทิสติกวิธีการดูแลและให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ 4. เพื่อศึกษาประสบการณ์ความเครียดของผู้ดูแลเกี่ยวกับการดูแลเด็กออทิสติก
    ขอบเขตของโครงการผลงาน
    การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพหรือแบบผสมผสาน (Mix method) เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของเด็กออทิสติก ความรู้และความเครียดของผู้ดูแลเด็กออทิสติกที่มารับบริการจากศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 5 จังหวัดสุพรรณบุรี
    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. เป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบการดูแลส่งเสริมสุขภาพเบื้องต้นแก่เด็กออทิสติกของผู้ดูแล 2. เป็นข้อมูลในการจัดโครงการบริการวิชาการเกี่ยวกับการผ่อนคลายความเครียดแก่ผู้ดูแลเด็กออทิสติก ณ ศูนย์ศึกษาพิเศษเขต 5
     นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  : 1. ด้านการเรียนการสอน สามารถนำข้อมูลที่ได้มาต่อยอดโครงการบริการวิชาการในการลดความเครียดในผู้ดูแลเด็กออทิสติก2. ด้านการปฏิบัติการพยาบาล เป็นข้อมูลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น บุคลากรสาธารณสุข ครูผู้ดูแลเด็กออทิสติก สำหรับวางแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา เรื่องภาวะสุขภาพจิตของผู้ดูแล และภาวะสุขภาพในเด็กออทิสติก 3. ด้านการวิจัย เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาในเรื่องความเครียดในการดูแลเด็กออทิสติกของครอบครัว และการสร้างเสริมภาวะสุขภาพของเด็กออทิสติก
    บทคัดย่อ
   

บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของเด็กออทิสติกที่ได้รับบริการจากศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 5 จังหวัดสุพรรณบุรี และเพื่อศึกษาด้านความรู้และความเครียดของผู้ดูแลเด็กออทิสติก ดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) การวิธีวิจัยเชิงปริมาณทำโดยการใช้แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข การรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน อาศัยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  แบบประเมินความเครียด แบบประเมินความรู้โรคออทิสติก และแบบประเมินภาวะสุขภาพตามกรอบแนวคิดสุขภาพของกอร์ดอน 11 แบบแผน            การประเมินผลอาศัย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพทำโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลจำนวน 15 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1.        ผู้ดูแลเด็กออทิสติกส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดอยู่ในระดับเครียดสูง คิดเป็นร้อยละ 50.0  รองลงมาคือ ระดับเครียดปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 40.0 และระดับเครียดรุนแรง คิดเป็นร้อยละ 10.0

2.        ผู้ดูแลเด็กออทิสติกส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 73.3  และคะแนนความรู้อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 26.7  

3.        ภาวะสุขภาพของเด็กออทิสติกส่วนใหญ่จะมีสุขภาพแข็งแรง  มีความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆได้บางส่วนแต่ต้องมีผู้ช่วยเหลือและไม่มีความอดทนต่อการถูกขัดใจ  ผู้ดูแลใช้การลงโทษโดยการตีในการจัดการกับพฤติกรรม

4.        ประเด็นประสบการณ์ความเครียดของผู้ดูแลเด็กออทิสติกพบ 5 ประเด็นหลัก คือ ความรู้สึกในการดูแลเด็กออทิสติก ความเครียด อาการของความเครียด ผลกระทบของความเครียด และวิธีลดความเครียด

ดาว์โหลดไฟล์บทคัดย่อ :  ดาวน์โหลดไฟล์ 20130920085553.pdf
 
 
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
  การเผยแพร่บทความวิชาการ ปี พ.ศ คะแนน วันที่เผยแพร่ โหลด
 
       บูรณาการกับโครงการบริการวิชาการ             ความร่วมมืองานวิจัยกับบุคคลภายนอก
ปีปฏิทิน : 2556
ปีการศึกษา : 2556
ปีงบประมาณ : 2556
วันที่เริ่ม : 1 ธ.ค. 2555    วันที่แล้วเสร็จ : 31 ส.ค. 2556
แหล่งเงินทุน  
ภายใน จำนวนเงิน 47,330.00 บาท
ภายนอก จำนวนเงิน 0.00 บาท 2556
รวมจำนวนเงินทุน 47,330.00 บาท
  ชื่อแฟ้มข้อมูล ขนาดแฟ้มข้อมูล จำนวนเข้าถึง วัน-เวลาเข้าถึงล่าสุด Download
ทั้งหมด 0 รายการ
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6